พัฒนาการของกระแสอนุรักษ์ควายไทย ทศวรรษ 2520 – 2540

Main Article Content

พาขวัญ สตัมภรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงของกระแสการอนุรักษ์ควายไทยในช่วงทศวรรษ 2520-2540 ทั้งด้านความคิดและกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ควายไทย ผลการศึกษาพบว่า ในระยะ 3 ทศวรรษ การอนุรักษ์ควายไทยมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับกล่าวคือ การดูแลควายในฐานะปศุสัตว์โดยหน่วยงานราชการคือกรมปศุสัตว์และสถาบันการศึกษา ตั้งแต่ทศวรรษ 2470-2510 เป็นฐานสำคัญที่ส่งต่อถึงแนวทางการดูแลรักษาควายระยะแรกในทศวรรษ 2520 ซึ่งยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพันธุ์ควายเพื่อให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีคุณภาพทั้งด้านการนำไปใช้แรงงานในการเกษตรและการให้เนื้อเพื่อการบริโภค โดยกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอความคิด หรือจัดทำโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่คือกลุ่มบุคคลสายวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เป็นนักวิจัยและอาจารย์จากสถาบันการศึกษา เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2530 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด คือ เริ่มปรากฏการใช้คำว่า “อนุรักษ์” กับควายไทย พบงานศึกษาที่อธิบายถึงควายอย่างสัมพันธ์กับสังคมไทยจากบริบทของกระแสแนวท้องถิ่นนิยมและวัฒนธรรมชุมชน และเกิดกลุ่มบุคคลสายอื่นๆ ที่แสดงความคิดและทำกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ควายด้วย เมื่อเข้าสู่ทศววรษ 2540 มีการสร้าง“หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย” ขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามกระแส “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” สอดรับกับนโยบายการท่องเที่ยวระดับชาติ กล่าวได้ว่าทศวรรษ 2530-2540 กระแสการอนุรักษ์ควายไทยขยายตัวอย่างมาก มีความหลากหลายทั้งกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางอนุรักษ์ และรูปแบบของกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ควายไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 50 ปี กรมปศุสัตว์ เนื่องในวันสถาปนากรมปศุสัตว์ ครบรอบ 50 ปี 5 พฤษภาคม 2535. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์, 2535.

“ควายไทย พลิกวิกฤตเป็นโอกาส.” เทคโนโลยีชาวบ้าน 13, ฉ. 259 (15 มีนาคม 2544): 50, 52-56.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, “ธนาคารโค-กระบือ,” ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 12, 118-120.กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2531.

จรัญ จันทลักขณา. ควายในระบบไร่นาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2523.

__________. “วัวควาย.” ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 12. พิมพ์ครั้งที่ 2. 132-188, กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนฯ, 2553.

จินตนา อินทรมงคล. ควายไทย เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาไทย ด้านปศุสัตว์ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์, 2548.

จิราภรณ์ เกตุบูรณะ. “จากควายศึกแห่งบางระจัน ถึงบุญเลิศ ฆ้องทอง.” กรมปศุสัตว์. http://www.dld.go.th/inform/article/articl11.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556).

ชลิตา บัณฑุวงศ์. “ข้าวและชาวนาไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง.” ในคน ข้าว นา ควาย ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. บรรณาธิการโดย พจนก กาญจนจันทร และคณะ. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

ณรงศักดิ์ มหาธารา. “เจ้าตำรับควายเหล็ก.” วารสารข้าราชการ 11 ฉ. 2 (2509).

ดำรงพล พาชื่น และวิมล กิจวานิชขจร. “อนุรักษ์ควายปลักไทย อนาคตแจ่มใสในตลาดเนื้อ.” มติชนสุขสรรค์, มติชน, 13 สิงหาคม 2542, 12.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. “ฟาร์มเลี้ยงควายเพื่อการส่งออก.” เทคโนโลยีชาวบ้าน 13 ฉ. 259 (15 มีนาคม 2544).

“ทุยไทยใกล้สูญพันธุ์ สระแก้วเร่งอนุรักษ์,” X-cite ไทยโพสต์ (13 สิงหาคม 2543): 21.

ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ. “คำ ปรีวิลัย คนรักควาย แห่งภูพาน.” เทคโนโลยีชาวบ้าน 19, 405 (15 เมษายน 2550): 85-86.

นันทนิตย์ อนุศาสนะนันท์. “ควายกับคน ความสัมพันธ์ในสังคมไทย: ศึกษาผ่านตำนาน เรื่องเล่า ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิตควายที่เปลี่ยนไป.” รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.

นรีภพ [นามแฝง]. “ฅ-คน กับ ค-ควาย ชีวิตท้องทุ่ง...ที่บ้านควายไทย.” ใน ข้าวงอกดอกไม้บาน: สารคดีวิถี ชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. กรุงเทพฯ: ปิรามิด, 2545.

เนตรดาว เถาถวิล. “‘เฮ็ดอยู่ แต่บ่พอกิน’: คำถามว่าด้วยการพึ่งตนเองของชาวนาเกษตรอินทรีย์ในโลกยุคโลกาภิวัตน์และการพัฒนา.” ใน วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30, ฉ. 2 (2554): 81-109.

บำรุง บุญปัญญา. 3 ทศวรรษ แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. สุรินทร์:โครงการหนังสือดอกติ้วป่า, 2549.

ประคอง นิมมานเหมินท์. “ขวัญข้าวขวัญควาย: ภาพสะท้อนจิตใจที่ประณีตอ่อนโยนของคนไท.” ใน หอไทยนิทัศน์: แหล่งสืบสานวัฒนธรรมไทยยุคโลกาภิวัตน์. บรรณาธิการโดย นันทิยา สว่างวุฒิธรรม. กรุงเทพฯ: ส่วนไทยนิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2541.

__________ . “คนไทกับธรรมชาติ: ภาพสะท้อนจากพิธีกรรมและบททำขวัญข้าวขวัญควาย.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน 25, ฉ. 3 (2543): 80-86.

“ประวัติกรมปศุสัตว์.” กรมปศุสัตว์. http://www.dld.go.th/th/index.php/organization/101-about-dld/171-2009-12-30-12-45-29 (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556).

“ประวัติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.” คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. http://ag.kku.ac.th/TA/about_us.php (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556).

ประสิทธิ์ โพธิปักษ์ และคณะ. รายงานผลการวิจัย โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและขยายพันธุ์ควายไทย.กรุงเทพฯ: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.

“ปันรัว หมู่บ้านคนรักควายแห่งสุรินทร์ อีกตัวอย่างของการอนุรักษ์แบบยั่งยืน.” เทคโนโลยีชาวบ้าน 13, ฉ.259 (15 มีนาคม 2544): 57–59.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. “ทบทวนภูมิปัญญา ท้าทายความรู้.” ใน ภูมิปัญญาไทย-ภูมิปัญญาเทศ. บรรณาธิการโดย ดาริน อินทร์เหมือน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2548.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวิอร์มบุคส์), 2539.

“แผนพัฒนาประเทศ จากแผนฯ 1 ถึงแผนฯ 10.” วารสารเศรษฐกิจและสังคม 44, ฉ.2 (เมษายน-มิถุนายน 2550): 40-47.

พัฒนา กิติอาษา. ท้องถิ่นนิยม (Localism). พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: กองทุนอินทร์-สมเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยา, 2546.

ภัทราพร สังข์พวงทอง. “ศึกควายไทย ปะทะควายเหล็ก.” ในความรู้นอกกะลา เล่ม 6: ชาวนา. กรุงเทพฯ: พิมพ์บูรพา, 2551.

มณีวรรณ กมลพัฒนะ. ควายไทย: จุดกำเนิดเทคโนโลยีมาโตมาติด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. อ่าน “วัฒนธรรมชุมชน: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์นิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2548.

วรรณพร วณิชชานุกร. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: Ecotourism. กรุงเทพฯ: กองวิชาการและฝึกอบรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2540.

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. “เรื่องของถึก ควาย ทุย กระบือและคาราบาว.” สารคดี 7, ฉ. 81 (พฤศจิกายน 2534): 80-98.

วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร. 100 เรื่อง{อันเนื่องมาจากความคิดถึง}ควาย. กรุงเทพฯ: ไทยฟอร์ม, 2545.

วิวัฒน์ ชวนะนิกุล. ความรู้ปัจจุบันเรื่องกระบือ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสัตวบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.

สมพงค์ พรมสะอาด. “‘ควายไทย’ ถึงวันที่ต้องอนุรักษ์.” โลกสีเขียว (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2545): 8-9.

สุชาดา ผลเจริญ. คนกับควาย: ความผูกพันจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.

สุวิทย์ เฑียรทอง. “ควายไทย มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวไทย.” วารสารทางวิชาการราชภัฏกรุงเก่า 2, ฉ. 4, (2539): 30-37.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร: วิวัฒนาการและผลกระทบของเทคโนโลยีการเกษตรจากสมัยสุโขทัยถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548.

สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ และคณะ. “การพัฒนาการท่องเที่ยวหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.” ใน รวมบทความวารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปี พ.ศ. 2549. บรรณาธิการโดย เทิดชาย ช่วยบำรุง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว, 2549: 24–33.

สุเมธ วรรณพฤกษ์. “คิดถึง ‘ไอ้ทุย’.” มติชน, 1 สิงหาคม 2543, 12.

อุดม วงศ์วิวัฒนไชย. อุตสาหกรรมผลิตรถแทรกเตอร์และรถไถขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, 2522.

เอี่ยม ทองดี. “ควายกับการพึ่งตนเองของชาวนาไทย,” วารสารภาษาและวัฒนธรรม 18, ฉ. 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2542): 51-60.

เอี่ยม ทองดี. ควายไทย: สัตว์กตัญญูซึ่งกำลังถูกลืม. กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ จำกัด, 2534.

________. “ค. ควายเข้านา.” ใน รวมบทความทางวิชาการภาษาและวัฒนธรรม. บรรณาธิการโดย เอี่ยม ทองดี. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.