ประวัติศาสตร์นิพนธ์วรรณคดีไทย: ว่าด้วยการสร้างและสลายความเป็นไทย

Main Article Content

เสาวณิต จุลวงศ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ประวัติศาสตร์นิพนธ์วรรณคดีไทย: ว่าด้วยการสร้างและสลายความเป็นไทย มุ่งศึกษาปัญหาของประวัติศาสตร์นิพนธ์วรรณคดีไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประวัติวรรณคดีไทยกับความเป็นไทย บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าการเขียนประวัติวรรณคดีไทยมีปัญหาและข้อจำกัดหลายประการ คือ วัตถุที่ใช้ในการศึกษา วิธีการอนุมาน ความสัมพันธ์กับบริบทสังคมวัฒนธรรม อิทธิพลของประวัติศาสตร์ไทยฉบับทางการ และภาพรวมของการนำเสนอ นอกจากนี้ยังอภิปรายถึงเงื่อนไขและผลที่เกิดจากประวัติวรรณคดีไทยที่สร้างขึ้น อันได้แก่การสร้างอัตลักษณ์และการนิยามความเป็นไทยจากประวัติวรรณคดีไทย กล่าวคือประวัติวรรณคดีไทยได้ทำให้ความเป็นไทยมีความหมายอ้างอิงอยู่กับภาษาไทย อาณาจักรศูนย์กลางแถบลุ่มแม่นำ้เจ้าพระยา และราชสำนักไทย สุดท้ายบทความนี้นำ เสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการสร้างประวัติวรรณคดีไทยของนักคิดจำนวนหนึ่ง และได้เสนอข้อเสนอของผู้เขียนเองในท้ายที่สุด คือการสร้างประวัติวรรณคดีไทยซึ่งหลอมรวมวัฒนธรรมอันหลากหลายในดินแดนประเทศไทยเข้าด้วยกัน สร้างความรับรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยที่หลากหลายในฐานะรัฐชาติเดียวกัน การสร้างประวัติวรรณคดีไทยในลักษณะเช่นนี้ได้ จำเป็นต้องสลายและสร้างความเป็นไทยในความหมายใหม่ขึ้นมา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. วรรณคดีแห่งชาติ 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2556.

เจตนา นาควัชระ. “แนวทางการสร้างประวัติวรรณคดี.” วารสารธรรมศาสตร์. 12 (ธันวาคม 2526): 109–127.

เจือ สตะเวทิน. คลังวรรณคดี ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์, 2517.

เจือ สตะเวทิน. ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2522.

นายตำรา ณ เมืองใต้. ปริทรรศน์แห่งวรรณคดีไทย ภาคหนึ่ง–ภาคสอง.พระนคร: กรุงเทพบรรณาคาร, 2484.

นายตำรา ณ เมืองใต้. ปริทรรศน์แห่งวรรณคดีไทย สมัยปัจจุบัน. พระนคร: พิริยกิจ, 2490.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, 2549.

เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทยฉบับนักศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งแรก 2495). พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2498.

เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 13 (พิมพ์ครั้งแรก 2495). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2545.

พิริยะ ไกรฤกษ์. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปในประเทศไทย คัดเลือกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สาขาส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, 2520.

วรเวทย์พิสิฐ, พระ. วรรณคดีไทย. โครงการหนังสือหายาก ศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

วัชรี รมยะนันทน์. วิวัฒนาการวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.

วิภา กงกะนันทน์. วัฒนธรรมทางวรรณกรรมของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2522.

ส. ธรรมยศ. ศิลปะแห่งวรรณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งแรก 2480). กรุงเทพฯ: มิ่งขวัญ, 2543.

สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2544.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กองวัฒนธรรม. “ประวัติการแต่งกายของไทย.” ใน การแต่งกายของไทย. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายอุทัย ผะเดิมชิต ณ ฌาปนสถานกองทัพบก เมรุวัดโสมนัสวิหาร 19 พฤษภาคม, 2505.

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย: วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติ. การแต่งกายไทย: วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สําานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2543.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของภาษาและวรรณคดีในสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. “สงครามชิงทําาเนียบ.” อ่าน 1, ฉ.3 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551): 16–37.

ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ วริศา กิตติคุณเสรี. “ประวัติศาสตร์และการเมืองของวาทกรรม “หนังสือดี”.” อ่าน 1, ฉ.3 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551): 38–60.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. “100 ปี ชาตกาล นายตำรา ณ เมืองใต้.” ศิลปวัฒนธรรม. 30, ฉ.11 (กันยายน 2552): 67-69.

“ประวัติศาสตร์ชายแดนภาคใต้ที่ทางการไทยผิดพลาด.” มติชน, 12 มิถุนายน 2557, 17.

สุมาลี วีระวงศ์. “ปริทรรศน์หลักฐานและแนวคิดที่ใช้สร้างประวัติวรรณคดีอยุธยา.” วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 11, ฉ.1–2 (2537): 7-18.

สารานุกรมออนไลน์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 24. “วรรณคดีมรดก.” http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK24/chapter1/t24-1-m.htm. (สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม).

Hutcheon, Linda and Valdés, Mario J., ed. Rethinking Literary History. Oxford: Oxford University Press, 2002.

Limapichart, Thanapol. “The prescription of Good Books: The Formation of the Discourse and Cultural Authority of Literaturein Modern Thailand (1860s-1950s).” Unpublished Doctoral Dissertation, University of Wisconsin-Madison, 2008.

Nagavajara, Chetana. “Literary historiography and socio-cultural transformation: the case of Thailand.” In Comparative literature from a Thai perspective: collected articles 1978–1992. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 1996.

Perkins, David, ed. Theoretical Issues in Literary History. Cambridge: Harvard University Press, 1991.