กฎหมายชารีอะห์กับผู้หญิงอาเจะห์: ชายขอบของชายขอบ

Main Article Content

อรอนงค์ ทิพย์พิมล

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการที่ผู้หญิงอาเจะห์กลายเป็นกลุ่มคนชายขอบจากการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ในจังหวัดอาเจะห์ ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดอาเจะห์เป็นเพียงจังหวัดเดียวในประเทศอินโดนีเซียที่มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม แต่การบังคับใช้ไม่ได้เป็นการบังคับใช้เต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2001 มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายชารีอะห์เพียง 4 ฉบับเท่านั้น การประกาศใช้กฎหมายชารีอะห์ในอาเจะห์เป็นนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และเพื่อทำลายความชอบธรรมของขบวนการอาเจะห์เอกราช โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำศาสนาบางกลุ่มและนักวิชาการในอาเจะห์  


ผู้หญิงอาเจะห์มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อาเจะห์ตั้งแต่ยุครัฐสุลต่าน ตลอดจนในกลุ่มขบวนการเรียกร้องเอกราชแต่ในกระบวนการพิจารณาเรื่องกฎหมายชารีอะห์ ผู้หญิงอาเจะห์ไม่ได้มีบทบาทแต่อย่างใดและผู้หญิงเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ เป้าหมายส่วนใหญ่ของการบังคับใช้มักจะเป็นผู้หญิง เนื่องจากกฎหมายชารีอะห์เน้นเรื่องการแต่งกายที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักศาสนา  ดังนั้นผู้หญิงจึงถูกควบคุมในเรื่องการใส่ผ้าคลุมผมและเสื้อผ้า หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์อาเจะห์การประกาศใช้กฎหมายชารีอะห์ส่งผลให้ผู้หญิงอาเจะห์กลายเป็นชายชอบของจังหวัดอาเจะห์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายขอบทางอำนาจ

Article Details

บท
บทความประจำฉบับ