สมเด็จพระนครินทราธิราช ในหมิงสือลู่

Main Article Content

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอบันทึกเกี่ยวกับสมเด็จพระนครินทราธิราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ที่ปรากฏในหมิงสือลู่ ก่อนที่สมเด็จพระนครินทราธิราชจะขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเจ้านครอินทร์ครองเมืองสุพรรณบุรี ในพ.ศ. 1914 และได้ตามหลู่จงจิ้นไปเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิหมิงไท่จู่ที่เมืองนานกิง  ทำให้ราชวงศ์หมิงรับสถานภาพของวงศ์สุพรรณภูมิเป็นอย่างมาก ในพ.ศ. 1939 เจ้านครอินทร์ส่งข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ไปแจ้งแก่จักรพรรดิหมิงไท่จู่ ซึ่งล่าช้ากว่าในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ ถึง 8 ปี ทั้งนี้เพราะ  พระองค์ถูกสมเด็จพระราเมศวรควบคุมตัว


เมื่อจักรพรรดิหมิงไท่จู่ทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) กลับไม่ส่งมหาขันทีเข้ามาประกาศโองการตั้งเจ้านครอินทร์ขึ้นเป็นกษัตริย์  จนกระทั่งในพ.ศ. 1945  จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่จึงยอมรับว่าสมเด็จพระนครินทราธิราชเป็นกษัตริย์


ในพ.ศ. 1951 สมเด็จพระนครินทราธิราชได้เสด็จเข้ามายึดอำนาจที่กรุงศรีอยุธยา  และในหมิงสือลู่ได้บันทึกว่า ในพ.ศ. 1959 ทางราชวงศ์หมิงได้รับข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนครินทราธิราช ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทยเล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2529.

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. (คณะกรรมการอำนวยการงานเฉลิมพระเกียรติพระพุทธบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2547.

กรมศิลปากร. ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1 และ 2. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเอิบ อุมาภิรมย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2513.

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2549.

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2533.

กรมศิลปากร. ลิลิตยวนพ่าย. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, 2517.

กรมศิลปากร. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2529.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยา ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2510.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. ประชุมศิลาจารึก ภาค 3. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508.

เจนจีนอักษร (สุดใจ ตัณฑากาศ), พระ.เรื่องพระราชไมตรีในระวางกรุงสยามกับกรุงจีน (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี)) กรุงเทพฯ: หอพระสมุดวชิรญาณ , 2472.

จิตร ภูมิศักดิ์. สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไม้งาม, 2526.

เฉลิม ยงบุญเกิด, ลิปิกรมไทยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน , 2511.

น. ณ ปากน้ำ. ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2558.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. “อธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1.” ใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, 2516. 382–343.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. “อธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1.” ใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, 435–440. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, 2516.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. สาส์นสมเด็จ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2504.

พระวันรัตน, สมเด็จ. จุลยุทธการวงศ์ ผูก 2. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลโท พระยาพหลพลพยุหเสนา รามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน)). กรุงเทพฯ: หอพระสมุดวชิรญาณ, 2463.

พิเศษ เจียจันทรพงษ์. ศาสนาและการเมืองในประวัติศาสตร์ สุโขทัย–อยุธยา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย ร.ต.ท. แสง มนวิทูร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2501.

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรรมันที่7" ใน ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน , 2559. 122–171.

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. “สุโขทัยหลังพ่อขุนรามคำแหง: ปรับตัว พึ่งพิง กับการอยู่รอดของราชวงศ์พระร่วง.” ใน สุโขทัยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558. 171–215.

วัน วลิต. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182. แปลโดย วนาศรี สามนเสน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523.

วินัย พงศ์ศรีเพียร, บรรณาธิการ. หมิงสือลู่–ชิงสือลู่. (จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี).กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2558.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. “อโยชชปุระ–ยโสธร” ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์, 2539. 1–103.

วินัย พงศ์ศรีเพียร และประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี. “การสอบค้นจำนวนพระมหากษัตริย์ไทยสมัยศรีอโยธยา.” ปัญหาในประวัติศาสตร์ไทย 1, 2 (2530): 14–122.

ศานติ ภักดีคำ. ““พระเจ้าศรีนทรวรมัน” ไม่ใช่ “พ่อขุนผาเมือง” ในศิลาจารึกเขมรโบราณของพระเจ้าศรีนทรวรมัน.” ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2559. 208–225.

สืบแสง พรหมบุญ. ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา, 2525.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2543.

Coedès, G. “Une recension palie des Annales d'Ayuthya.” BEFEO XIV (1914): 1-31.

Franke , W. “The Veritable Records of Ming Dynasty (1368 – 1644),” Historians of China and Japan London : Oxford University Prees , 1961.

Finot, L. “Les Inscriptions et l’Histoire.” In Le Temple d’Içvarapura. Paris: EFEO, 1926. 69–133.

Grimm, T. “Thailand in the light of Offical Chinese Historigraphy : A Chapter in the History of Ming History” JSS. 49 , 1 (1961): 1–20.

Pelliot, P. “Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle.” BEFEO IV (1904): 131-413.

Pou, S. Dictionnaire Vieux Khmer– Français- Anglais. Paris: Cedoreck, 1992.

Prasert Na Nagara and A.B. Griswold. Epigraphic and Historical Studies. Bangkok: The Historical Society, 1992.

Vickery, M. “The 2/K.125 Fragment, A Lost Chronicle of Ayutthaya.” JSS 65, pt. I (1977): 1– 80.

Wade, G. “The Ming shi–lu as a Source for Thai History — Fourteenth to Seventeenth Centuries.” Journal of Southeast Asian Studies 31, 2 (2000): 249–294.

Wade, G. “The Zheng He Voyages: A Reassessment.” Journal of the Malaysian Branch of Royal Asiatic Society LXXVIII, pt. 1 (2005): 37–57.

Wade, G. Southeast Asia in the Ming Shi – lu, An Open Acces Resource https://www.epress.nus.edu.sg/msl/introduction (Accessed February 11, 2018).

明實錄太祖實錄. https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&res=555283 (Accessed February 11, 2018).

明實錄太宗實錄. https://ctext.org/wiki.pl?if=en&res=279435 (Accessed June 26 , 2018)