คำให้การของชาวจีนที่เดินทางมาสยาม ในสมัยกรุงธนบุรี

Main Article Content

อดิศร หมวกพิมาย

บทคัดย่อ

ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 อยุธยากลายเป็นรัฐที่มีความสำคัญกับจีนในฐานะผู้ส่งออกสินค้าไปยังจีนทั้งในระบบบรรณาการและนอกบรรณาการ จากเดิมที่ให้ความสำคัญกับการเป็นเมืองท่าสินค้าส่งผ่าน ประกอบกับจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อราชวงศ์ชิงเป็นกลายเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ในระบบการเมืองจีน สงครามกับหงสาวดีหรือพม่า โดยการนำของพระเจ้าอลองพญาในปี พ.ศ. 2302-2303/ ค.ศ. 1759-1760 และสงครามใหญ่ในปี พ.ศ. 2309-2310/ ค.ศ. 1766-1767 กับพระเจ้ามังระ ผลสุดท้าย คือ ความพ่ายแพ้ของอยุธยากลายเป็นเรื่องสำคัญที่จีนต้องการสืบข่าว พ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาทำการค้าในช่วงของสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องมีรายงานข่าวการเมืองและเศรษฐกิจในสมัยปลายอยุธยาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีมากที่สุด และเป็นความรับผิดชอบของขุนนางจีนที่ต้องทำรายงานเสนอไปยังราชสำนักปักกิ่ง เอกสารคำให้การชาวจีนร่วมสมัยในช่วงเวลาดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของไทยและการก่อตัวทาง อำนาจของเมืองฮาเตียนซึ่งเป็นชุมชนจีนโพ้นทะเลที่มีอำนาจขึ้นมาในช่วงเดียวกัน ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ของไทยในประวัติศาสตร์ในสายตาของจีนผ่านคำให้การของกลุ่มพ่อค้าที่สามารถนำไปสู่คำอธิบายประวัติศาสตร์ไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านของราชอาณาจักรในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความประจำฉบับ

References

จันทนุมาศ (เจิม), พัน. “พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนนุมาศ.” ใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65, รวบรวมและจัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดลิเมล์, 2480.

เจนนิเฟอร์เวย์น คุชแมน. การค้าทางเรือสําเภาจีน-สยามยุคต้นรัตนโกสินทร์. แปลโดย ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528.

ณัฎฐภัทร จันทวิช. “ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายและธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน.” ศิลปากร 24 ฉ.2 และ ฉ.3 (2523): 9-33, 49-72.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2528.

สุวิทย์ ธีรศาศวัติ. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2310-2394). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2525.

Academia Sinica comp. Historical Materials of the Ming and Qing Periods: Serial F (in Chinese). Taipei. Academia Sinica, 1960.

Blussé, Léonard and Gaastra, F. S. (eds.). On the Eighteenth Century as a Category of Asian History. Aldershot: Ashgate Publishing, 1998.

Chifa, Chuang. “Xian Luo Guo Wang Zheng Zhao Ru Gong Qing Ting Kao (ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการส่งทูตไปยังจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรี),” Daluzazhi 51, no.3 (1975): 126-141.

Chingho, Chen. “Mac ThienTu and Phraya Taksin: A Survey on Their Political Stand, Conflicts and Background.” Paper presented to the Seventh Conference of the International Association of Historians of Asia, Bangkok.1977.

Chin, James. “King Taksin and China: Siam-Chinese Relations during the Thonburi Period as seen from the Chinese Sources.” Paper presented to the Fifth Thai Studies Conference. London, 1993.

Muakpimai, Adisorn. “Chantaburi: A Gatedoor of the Coastal Trade of Ayudhya in EighteenthCentury.” Paper presented at an international Workshop on Ayudhya and Asia.1995.

Zhu Pi Zou, Zhe Wai, Jiao Lei. (Imperial Document with Vermillion Endorsement concerningciplomacy), No. 346-1, The No. 1 Archives, Beijing. Copies of Palace Memorials for the Reference of the Grand Council, Foreign Affairs. (in Chinese) Beijing: The First Historical Achives. (unpublished).