จาก “โหยหา” ถึง “โมโห”: อ่านอาการสังคม ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540-2546)

Main Article Content

อิทธิเดช พระเพ็ชร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งระหว่างปี พ.ศ. 2540-2546 โดยใช้วิธีการ “อ่านอาการ” สังคมไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งผ่านภาพยนตร์ไทย จากการศึกษาพบว่า หลังวิกฤตเศรษฐกิจ เนื้อหาของภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงและเป็นที่นิยมได้แสดงอาการของสังคมไทย โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของอาการโหยหาอดีต ซึ่งเป็นทางออกในการหลบหนีความเจ็บปวดจากสถานการณ์ปัจจุบันไปสู่ยุคสมัยอดีต ในทางหนึ่ง การโหยหาอดีตในภาพยนตร์ไทยได้ผลิตสร้างแนวคิดชาตินิยมผ่านเนื้อหาการต่อสู้และความร่วมมือร่วมใจสามัคคีของตัวละครที่ต้องต่อสู้ศัตรูผู้รุกราน ภายใต้การโหยหาอดีตจึงได้ปรากฏอาการ “โมโห” และวิธีการจัดการของสังคมไทยในภาพยนตร์ ดังเห็นได้จากกระบวนการสร้างความเป็นอื่นและการสร้างภาพตัวแทนศัตรูของชาติ ซึ่งมีทั้ง ผี พม่า และฝรั่งโดยใช้วิธีการความรุนแรงเป็นเครื่องมือเข้าจัดการ นัยยะของภาพยนตร์ไทยในช่วงเวลาดังกล่าว จึงแสดงให้เห็นถึงอาการและวิธีการจัดการต่อความบอบช้ำผิดหวังจากพิษวิกฤตศรษฐกิจ และได้ทำให้ภาพยนตร์ไทยกลายเป็นที่หลบหนีจากความเจ็บปวดและเป็นบ่อบำบัดความโมโหของสังคมไทยที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

กฤษดา เกิดดี. วิจารณ์หนังไทย: รวมบทวิพากษ์ภาพยนตร์ไทย 2540-2549. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต, 2550.

กำจร หลุยยะพงษ์. ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2556.

กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน. หลอน รัก สับสน ในหนังไทย: ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ.2520-2547) กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม, 2552.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อาวุธมีชีวิต? แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง . กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2546.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550.

ธงชัย วินิจจะกูล. โฉมหน้าราชาชาตินิยม. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2539.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

นิพนธ์ พัวพงศกร, บรรณาธิการ. จากวิกฤติเศรษฐกิจสู่ประชาสังคม: หนังสือที่ระลึกครบรอบ 60 ปี อาจารย์อัมมาร สยามวาลา. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.

นนทรี นิมิบุตร. นางนาก. กรุงเทพฯ: แพรวเอนเตอร์เทน, 2542.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. ศิลปะแขนงที่เจ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2538.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2, นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

พัฒนสิทธิ์ ธูปเทียน. เขาสร้างหนังไทยคุณภาพกันอย่างไร. กรุงเทพฯ: Editor 1999, 2543.

พัฒนา กิติอาษา. มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546.

ภิญโญ ไตรสุริยะธรรม, บรรณาธิการ. คาถาเสกหมาให้เป็นเทวดา. กรุงเทพฯ: openbooks, 2546.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์. ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.

วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง. นางนาก บทภาพยนตร์จากต้นฉบับ. กรุงเทพฯ: Macaroni books, 2542.

สมสุข หินวิมาน. อ่านทีวี: การเมืองวัฒนธรรมในจอโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: พารากราฟ, 2558.

หนึ่งเดียว (นามแฝง). บู๊แซ่บ! สุดยอดหนังบู๊ระดับตำนาน. กรุงเทพฯ: popcorn, 2550.

หนึ่งเดียว (นามแฝง). บู๊แซ่บ สุดยอดหนังบู๊ระดับตำนาน ภาค 2. กรุงเทพฯ: popcorn, 2551.

อัญชลี ชัยวรพร. ภาพยนตร์ในชีวิตไทย มุมมองของภาพยนตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วราพร, 2559.

เอนก นาวิกมูล. เปิดตำนานแม่นากพระโขนง. กรุงเทพฯ: โนรา, 2543.

แอนเดอร์สัน, เบเนดิกท์. ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม. บรรณาธิการแปลโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2557.

พาขวัญ สตัมภรัตน์. “พัฒนาการของกระแสอนุรักษ์ควายไทยทศวรรษ 2520-2540.” วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 1, ฉ.1 (เมษายน-กันยายน 2557): 157-206.

ศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณ. “หนังไทยตื่นตัว..หรือตื่นตูม.” ใน บันทึกหนังไทย 2553-2554 การประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2554.

อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. “จาก ‘โซ๊ด’ สู่‘สะวิง’: อัสดงคตนิยมกับการเมืองของการแปลทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่.” รัฐศาสตร์สาร 38. ฉ.2 (2560): 73-131.

Chaiworaporn, Anchalee. “Home, Nostalgia and Memory: The Remedy of Identity Crisis in New Thai Cinema.” In Asian Cinema 17, no.1 (March 2006): 108-122.

Chaiworaporn, Anchalee.“Nostalgia in Post Crisis Thai Cinema.” In Forum On Contemporary Art &Society, no.4 (September 2002): 298-301.

จันทิมา หวังสมโชค. กลวิธีสื่ออารมณ์ขันในละครตลกสถานการณ์ของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

ชวนะ ภวกานันท์. รายงานการวิจัย เรื่อง “กระบวนทัศน์ยุทธศาสตร์การจัดการการสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างกระแสชาตินิยม ธุรกิจภาพยนตร์ไทยสู่สังคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์.” คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

ดุสิตา หนูนิมิตร. “กระบวนการสร้างสรรค์มุขตลกในรายการซิทคอมของบริษัท Exact and Scenario.” สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

พรรณราย โอสถาภิรัตน์. “นางนาก: การต่อรองทางความหมายในภาพยนตร์ยอดนิยม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.

พรพิชชา บุญบรรจง. “แม่นาก: มายาคติ “ความเป็นแม่” ที่ถูกประกอบสร้างในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

อดิศร จันทรสุข. “แอ็กแซ็กท์ กับการผลิตละครตลกแนว SIT COM.” สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะวารสารศาตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

https://www.museumsiam.org/vedetail.php?MID=5&CID=20&CONID=2071&SCID=84.

http://www.thaifilm.com/articleDetail.asp?id=19

https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=3248457.

https://www.youtube.com/watch?v=C3jwxcBjM-U