การศึกษาปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและทางจิตใจ และความต้องการให้ช่วยเหลือของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Chanikarn Suaynu สำนักวิชาแพทยศาสตร์
  • Poom Chompoosri
  • Chitlada Utaipiboon

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง, สุขภาพทางกาย, ความต้องการให้ช่วยเหลือ, ความเครียด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และทราบถึงสิ่งที่ผู้ดูแลต้องการให้ช่วยเหลือ เพื่อลดความรุนแรงและป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง  วิธีการศึกษา: ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยติดเตียงที่มีคะแนนรวมของ Barthel ADL index อยู่ในช่วง 0-4/20 คะแนน และเป็นผู้ให้การดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยติดเตียงตาม Barthel ADL index อย่างน้อย 1 กิจกรรมขึ้นไป และดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้ตอบข้อคำถามซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยติดเตียง 2.แบบสัมภาษณ์กลุ่มอาการหรือโรคทางกายของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ลักษณะคำถามเป็นแบบปลายเปิด 3.แบบวัดความเครียดของผู้ดูแล (Caregiver’s strain index : CSI) 4.แบบสอบถามความต้องการให้ช่วยเหลือของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผลการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวตั้งแต่ก่อนมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีอาการพอๆเดิมกับช่วงก่อนมาดูแล นอกจากนี้ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีอาการเจ็บป่วยทางกายและยังมีภาวะเครียดเกิดขึ้นขณะให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งภาวะเครียดส่วนใหญ่เกิดจากการมีข้อจำกัดต่าง ๆ ส่วนความต้องการมากที่สุดในด้านต่าง ๆของผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความต้องการ ดังนี้ ข้อมูลในเรื่องการดูแลผิวหนังของผู้ป่วยติดเตียง , ต้องการให้คนในครอบครัวรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น , ต้องการได้รับการดูแลรักษาเมื่อตนเองเจ็บป่วยขณะดูแลผู้ป่วยติดเตียง , ต้องการได้รับการให้อภัยจากผู้ป่วย , ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงแทน  ต้องการการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้ป่วย , ต้องการมีเวลาพักผ่อน สรุป: ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจเกิดขึ้น และมีความต้องการให้ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ขณะให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

References

Boonwat, K., Supanan, T., Chunhabadi A., Wae, N. (2017). Stress and needs of caregivers for
bed ridden patients. Journal of the Southern Region College of Nursing and Public Health Network, 4 (1), 205-216. (In Thai)
Chunabadi, A., Suphanan, T., Upara, R., Thongsai, S. Stress and needs of caregivers for stroke
patients at home. Journal of Prapokklao Nursing College, Chanthaburi, 24 (1): 1-7. (In Thai)
Hafsteinsdottir T B, et al. Education needs of patients with stroke and their caregivers: A systemic
review of the literature. Patient Ed Counsel. 2010; 12:1-10.

Jeauuphattham, R. (2010). The needs of relatives who take care for stroke patients at home.
Master of Nursing Thesis in Community Health Nursing Program. Graduate School, Christian University. (In Thai)
Kasemkitwattana, S, Praison, P. Relative caregivers for chronic patients: risk groups that should not
be overlooked. Journal of the Nursing Council 2014; 29 (4) 22-31. (In Thai)
Konghom, K. (2004). The relationships between the assessment of the situation of care, the
relationships of caregivers towards patients’ needs care and family supports and the adaptation of caregivers in the family of stroke patients. Master of Nursing Thesis. Chulalongkorn University. (In Thai)
Leelaphatthana, V., Hathirat, S. (2015). When the caregivers burnt out. Retrieved 1 March 2019 from
http://med.mahidol.ac.th/fammed/th/article/postgrad/article_4. (In Thai)
Likitluecha, N., Larpphakdi, T, Kladchomphong, P. (Editors). (2013). Nursing care of patients at home.
Bangkok: Assembly of Agricultural Cooperatives of Thailand. (In Thai)
Phodhara, Y., Korcharoayot, J., Somkumlung, P., Chaisit, Y. Factors affecting fatigue of caregivers of
stroke patients. Journal of Nursing and Health 2014; 37 (3). (In Thai)
Saensree, R. (2006). Needs of caregivers of patients with stroke at home. Master of Nursing
Thesis. Graduate College, Chiang Mai University. (In Thai)
Siriphonngam, Y. (1996). Caregiver at home: Concepts and problems in research. Ramathibodi
Medical Journal, 20 (1), 41-46.
Sitthimongkol, S. (1998). Stress and coping and the quality of life of relatives who take care for the
dependent elderly. Master of Nursing Thesis, Adult Nursing, Mahidol University.
Surasakorn, W. (2006). Coping and predicting stressing factors of caring for paralysis patients. Master
of Nursing Thesis, Family Practice Nursing Program, Christian University. (In Thai)
Thepsuwan, S. Thongchareonphong, N and Gray, R. Factors affecting stress and happiness of
caring for the elderly. Journal of Population, 4 (1), 75-92. Retrieved December 1, 2017, from http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/ThaiPopulationJournal/index.php/component/phocadownload/category/7-tpj-vol4-no1?download=41:tpj-vol4-no1-issue04 (In Thai)
Thipsamniak, T (2000). Needs of care for stroke patients and relationships between caregivers and
patients and satisfaction in the caregiver's life. Master of Nursing Thesis. Graduate Program in Adult Nursing, Mahidol University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-12