การปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ

Main Article Content

Nongkhran Termwut
Nomjit Nualnetr

บทคัดย่อ

 ที่มาและความสำคัญ: ปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้ทั่วถึงประชาชนทั่วประเทศ ทำให้นักกายภาพบำบัดจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมินี้ ซึ่งการส่งเสริมให้นักกายภาพบำบัดปฏิบัติงานแบบเต็มเวลาในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์ปัจจุบันก่อน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการทำงานของนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานแบบเต็มเวลาในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา


วิธีการวิจัย: ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกนักกายภาพบำบัดของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา จำนวน 9 คน (หญิง 8 คน ชาย 1 คน อายุเฉลี่ย 28.4±4.3 ปี) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย: การบริการกายภาพบำบัดของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยการบริการทั้งในสถานบริการและในชุมชน นอกจากสถานบริการสุขภาพของตนแล้ว ผู้ให้ข้อมูลยังต้องรับผิดชอบงานบริการกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้างเคียงอีก 4-7 แห่งด้วย ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำงานของผู้ให้ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดการ โดยกลยุทธ์ในการทำงานของผู้ให้ข้อมูลสามารถสรุปได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านเจตคติส่วนบุคคลและด้านรูปแบบการทำงาน ในมุมมองของผู้ให้ข้อมูล นักกายภาพบำบัด สถาบันผู้ผลิตนักกายภาพบำบัด และองค์กรวิชาชีพ ล้วนมีบทบาทเกี่ยวข้องในความสำเร็จของงานกายภาพบำบัดระดับปฐมภูมิ


สรุปผล: ผลการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันผู้ผลิตนักกายภาพบำบัด และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกายภาพบำบัด สำหรับใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานแบบเต็มเวลาในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของนักกายภาพบำบัดในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Physical Therapy Profession Act. [online] 2004 [cited 2014 Aug 8]. Available from: https://www.pt.or.th/poror.html.

2. Nualnetr N. Basic knowledge for community physical therapy works. Khon Kaen: Klang Na Na Vithaya; 2010.

3. Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Health policy in Thailand 2007. [online] 2007 [cited 2014 Aug 8]. Available from: https://bps.ops.moph.go.th/HealthPolicy7.pdf.

4. Bureau of Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Long term care. 3rd ed. Bangkok: The War Veteran Organization of Thailand Printing; 2013.

5. Bureau of Non Communicable Disease, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Data of non communicable disease. [online] 2012 [cited 2014 Aug 8]. Available from: https://www.thaincd.com/ information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

6. Suansin P, Nualnetr N. Prospective physical therapy services of community. Thai J Phys Ther 2008; 30(2): 95-105.

7. Nualnetr N, Sakhornkhan A. Improving accessibility to medical services for persons with disabilities in Thailand. Disability, CBR and Inclusive Development 2012; 23(1): 34-49.

8. Chirawatkul S. Qualitative study in health science. Bangkok: Wittayaphat; 2009.

9. Supawong C, Chunharas S, Sirilak S, Damrikarnlerd L, Srivanichakorn S, Vechasuthanon K. A manual for services of sub-district health promotion hospital. 2nd ed. Bangkok: War Veteran Organization of Thailand Printing; 2009.

10. Ariyachaikul S, Pengping V, Habudha V. The role and duty of physical therapists in community hospitals. Bull Chiang Mai Assoc Med Sci 2001; 34(3): 169-79.

11. A manual for the long term care system for the elderly in the National Health Security System. [online] 2016 [cited 2017 Aug 21]. Available from:https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/Download/20151202/20LTC%20.pdf.

12. Poomsutat P, Nualnetr N, Chantaraviroj P, Ariyachaikul S, Wongsirinawarat M, Danaitangtrakul J. The mechanisms of formation and adaptation of physical therapy services in community. Thai J Phys Ther 2012; 34(1): 45-54.

13. Phandech K. The performance through standard service of physical therapist in community hospital, public health region 12 [Master Thesis in Public Health Administration]. Khon Kaen: The Graduate School, Khon Kaen University; 2012.

14. Wilaichit S, Tridech P, Pandii W. Factors affecting standard of practice for physiotherapist in hospitals under Ministry of Public Health in the central region. J Med Tech Phys Ther 2011; 23(2): 197-208.

15. Nualnetr N. Problems of Khon Kaen’s physical therapy graduates working in rural hospital. J Med Tech Phys Ther 2001; 13(3): 166-75.

16. Sarakshetrin A, Samphawamana O, Suwannarat K. Role practices of professional nurses at the PCU. J Nursing Division 2010; 37(3): 52-63.

17. Chirunthorn R, Singpaiboonporn N, Lohanavakul P, Treratthanapaiboon P. Factors affecting the role performance of pharmacists in primary care units (PCU): a case study in the upper southern region of Thailand. Songkla Med J 2006; 24(6): 505-16.

18. Nualnetr N. Physical therapy roles in community-based rehabilitation: a case study in rural areas of north eastern Thailand. Asia Pacific Disabil Rehabil J 2009; 20(1): 73-82.

19. Bury T. Primary health care and community based rehabilitation: implications for physical therapy. Asia Pacific Disabil Rehabil J 2005; 16(2): 29-61.

20. World Confederation for Physical Therapy. Primary health care and community based rehabilitation: implications for physical therapy based on a survey of WCPT's member organisations and a literature review. WCPT Briefing Paper 1. London: WCPT; 2003.