ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพปอดและเส้นรอบเอวในผ ้หญิงที่มีภาว ู ะอ้วนในระดับที่ 1

Main Article Content

Sarayoot Mongkol
Sarunpong Boompanyaruk
Sirilak Makmee
Nattaporn Panalikul

บทคัดย่อ

โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางระบบกล้ามเนื ้อและกระดูก ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินหายใจ โดยปัจจุบันมีการแบ่ง
ระดับของผู้ที่มีภาวะอ้วนออกเป็น 2 ระดับ คือ อ้วนระดับที่หนึ่ง และอ้วนระดับที่สองโดยใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็ นตัวชี ้วัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพปอดและเส้นรอบเอวในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนระดับที่ 1 ช่วงอายุระหว่าง 18-23 ปี จํานวน 71 คน จากนั้นทําการคัดเลือกกลุ่มผู้เข้ารับการศึกษาตามคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกตามที่ได้กําหนดไว้ โดยอาสาสมัครในครั้งนี้ จะถูกวัดสมรรถภาพปอดอย่างน้อย 3 ครั้ง (แต่ไม่เกิน8 ครั้ง) และวัดเส้นรอบเอวด้วยสายวัดที่มีตาชั่งสปริงแล้วนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s correlation ผลการศึกษาพบว่า ปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ในเวลา 1 วินาทีแรก (Forced Expiratory Volume: FEV1) ปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่หลังจากหายใจเข้ าเต็มที่ (Forced Vital Capacity: FVC) สัดส่วนระหว่างค่า FEV1 ต่อค่า FVC (FEV1/FVC) และค่าของเส้นรอบเอวของเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนระดับที่ 1 พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เนื่องจากกลุ่มคนอ้วนระดับที่ 1 อายุน้อยและไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปอดมากนัก ดังนั ้นจึงไม่สามารถนําค่าเส้นรอบเอวมาเป็นตัวชี้วัดได้ว่า เพศหญิงที่มีภาวะอ้วนระดับที่ 1 จะมีปัญหาของสมรรถภาพปอด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. รังสรรค์ ตั ้งตรงจิตร. โรคอ้วนและระบาดวิทยาในโรคอ้วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านโภชนาการและชีวเคมี.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.2550;1-59.

2. Rabec C, Ramos P, Veale D. Respiratory complications of obesity. Arch Bronconeumol 2011; 47(5): 252-61.

3. Chen Y, Rennie D, Cormier Y, et.al. Waist circumference is associated with pulmonary functions in normal-weight, overweight, and obese subjects. Am J Clin Nutr 2007; 85: 35-9.

4. Ulubas B, Gen R, Tumkaya M, Akbay E, Calikoglu M. Lung function impairment in women aged over 40 years: The critical role of abdominal obesity. Obes Res Clin Pract 2011;
5: 79-83.

5. Saxena Y, Sidhwani G, Upmanyu R. Abdominal obesity and pulmonary functions in young Indian adults: a prospective study. Indian J Physiol Pharmacol 2009; 53(4): 318-26.

6. สุวรรณา หังสพฤกษ์, ปุณฑริกา สุวรรณประเทศ. สรีรวิทยา 2 ในระบบหายใจ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริ ราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548; 456-580

7. Wahba W. Influence of aging on lung function clinical significance of changes from age twenty. Anesth Analg 1983; 62(8): 764-7.

8. Joshi A, Singh R. Correlation of pulmonary function tests with body fat percentage in young individuals. Indian J Physiol Pharmacol 2008; 52(4): 383-8.

9. Jakes W, Day N, Patel B, et al. Physical inactivity is associated with lower forced expiratory volume in 1 second. Am J Epidemiol 2001; 156: 139-47.