ผลของชนิดวัสดุห่อผลต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4

Main Article Content

เจนจิรา ชุมภูคำ
นิตยา เงินแถบ
อิษยา นะมิกิ
รัฐพล ฉัตรบรรยงค์

Abstract

บทคัดย่อ


ศึกษาชนิดของวัสดุห่อผลที่มีผลต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 โดยห่อผลด้วยถุงกระดาษคาร์บอน ถุงใยสังเคราะห์ และถุงกระดาษสีขาว เปรียบเทียบกับผลมะม่วงที่ไม่ห่อผล (ชุดควบคุม) พบว่ามะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษคาร์บอนมีน้ำหนักผล (325.02 กรัม) และความกว้างผลมากสุด (70.39 มิลลิเมตร) ในขณะที่มะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษสีขาวมีปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ (1.50 เปอร์เซ็นต์) และความแน่นเนื้อสูงสุด (13.57 นิวตัน/ตารางเซนติเมตร) สีผิวเปลือกผลมะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษคาร์บอนมีค่าความสว่าง (L*) และค่าสีแดง (a*) มากสุด (66.29 และ 7.14 ตามลำดับ) แต่ให้ค่า hue angle น้อยสุด (79.53) ส่วนความพึงพอใจของผู้บริโภค มะม่วงที่ห่อผลด้วยถุงกระดาษคาร์บอนมีคะแนนด้านสีผิวเปลือกและสีเนื้อมากสุด คือ 4.13 และ 3.60 คะแนน ตามลำดับ ดังนั้นการห่อผลด้วยถุงกระดาษคาร์บอนส่งผลให้คุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ดีที่สุด 


คำสำคัญ : วัสดุห่อผล; สีผิวเปลือกผล; คุณภาพผล


 


Abstract


The fruit quality of ‘Nam Dok Mai No. 4’ mango was evaluated from four types of bagging materials, including carbon paper bags, synthetic fabric bags and white paper bag compared to non-bagged (control). Result showed that bagged mango fruit with carbon paper had the highest fruit weight (325.02 g) and fruit width (70.39 mm, while bagged fruit with white paper had the highest titratable acidity (1.50 %) and fruit firmness (13.57 N/cm3). Bagged fruit with carbon paper also showed the highest lightness (L*) and redness (a*) (66.29 and 7.14, respectively). However, the fruit showed the lowest hue angle (79.53). Moreover, bagged fruit with carbon paper had the highest consumer acceptance scores of peel and pulp color (4.13 and 3.60, respectively). The result indicated that mango bagging with carbon paper bag gave the highest quality of ‘Nam Dok Mai No. 4’ mango. 


Keywords: bagging materials; peel color; fruit quality

Article Details

How to Cite
ชุมภูคำ เ., เงินแถบ น., นะมิกิ อ., & ฉัตรบรรยงค์ ร. (2018). ผลของชนิดวัสดุห่อผลต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4. Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 393–398. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.36
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

เจนจิรา ชุมภูคำ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

นิตยา เงินแถบ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อิษยา นะมิกิ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

รัฐพล ฉัตรบรรยงค์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

กวิศร์ วานิชกุล และพรพรรณ ทรัพย์รุ่งเรือง, 2553, ผลของวัสดุห่อต่อคุณภาพผลมะเฟืองพันธุ์ B17, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
รัฐพล เมืองแก้ว และพีรศักดิ์ ฉายประสาท, 2557, ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก, แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 3): 45-50.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และรุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์, 2553, การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก, น. 1-9, ใน คณะเกษตรศาสตร์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, พัฒนามะม่วงไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก, เชียงใหม่.
ประเสริฐ ศรีสาธร, 2545, การทำสวนมะม่วง, อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 192 น.
มนู โป้สมบูรณ์, 2551, การผลิตมะม่วงคุณภาพดี, กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ผล กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ศรัญญา ใจพะยัก และธวัชชัย รัตน์ชเลศ, 2554, ผลของการห่อผลต่อผลผลิตและคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้, ว.เกษตร 27(1): 11-18.
Estrada, C.G., 2002, Effect of fruit bagging on sanitation and pigmentation of six mango cultivar, Acta Hort. 645: 195-199.