การศึกษาผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพน้ำผิวดินของการปลูกกาแฟอาราบิก้าภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่

Main Article Content

นุชจรินทร์ จันทร์แจ่ม
นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์
คณิตา ตังคณานุรักษ์
กนกอร อัมพรายน์
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการปลูกกาแฟอาราบิก้าแบบอินทรีย์และเคมีภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าบริเวณพื้นที่บ้านขุนลาว ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยการศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการวิเคราะห์สมบัติของดินทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และการวิเคราะห์คุณภาพของแหล่งน้ำที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่เพาะปลูก ผลการศึกษาพบว่าการปลูกกาแฟอาราบิก้าภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่ามีส่วนช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยช่วยปรับโครงสร้างของดินล่างให้ร่วนซุยขึ้น ทำให้ความเป็นกรดของดินลดลง เพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช ได้แก่ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม และช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดตรึงไนโตรเจนแบบอิสระในดิน สำหรับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่าน้ำจากแม่น้ำลาวซึ่งไหลผ่านบริเวณพื้นที่เพาะปลูกพืช เรื่อยลงไปจนถึงชุมชน และจุดที่แม่น้ำลาวไหลไปรวมกับแม่น้ำอื่น ๆ มีค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่าน้ำในบริเวณต้นน้ำถึงประมาณ 6 เท่า แต่ค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทุกค่าของน้ำในแม่น้ำแม่ลาวตลอดสายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินของกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ปี พ.ศ. 2540 กล่าวคือ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ และแม้การปลูกกาแฟภายใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่สูงบริเวณบ้านขุนลาวจะไม่ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพของแหล่งน้ำ แต่ควรระมัดระวังเรื่องการใช้ปุ๋ยในระบบการผลิตพืชไม่ให้มากเกินไป


คำสำคัญ : กาแฟอาราบิก้า; ความอุดมสมบูรณ์ของดิน; คุณภาพของแหล่งน้ำ


 


Abstract


This study focused on environmental impacts of mountain shade-grown organic and chemical Arabica coffee plantation in Ban Khun Lao, Mae Chedi Mai sub-district, Wiang Pa Pao district, Chiang Rai province. The study included an assessment of soil fertility by physical, chemical and biological soil analyses, and a measurement of water quality of the Mae Lao stream. Results indicated that coffee growing under big trees’ shades assisted an improvement of soil fertility by loosing texture of sub-soil, increasing soil pH, phosphorus, potassium and magnesium, and rising quantity of soil microbes and free-living nitrogen fixing bacteria. For Mae Lao stream water quality analysis, the results showed that the water starting at the crop cultivation area down to the Khun Lao community and to the pooled main stream (after local communities) presented 6 times higher electrical conductivity (EC) than the up-stream water from forest area. Even though, all values of water quality index of the Mae Lao stream did not exceed the values stated in the standard of surface water quality, however, human activities such as crop cultivation and daily chemicals (detergents) use should be taken into consideration. 


Keywords: Arabica coffee; soil fertility; water quality

Article Details

How to Cite
จันทร์แจ่ม น., ตังคณานุรักษ์ น., ตังคณานุรักษ์ ค., อัมพรายน์ ก., & พิริยะภัทรกิจ อ. (2018). การศึกษาผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพน้ำผิวดินของการปลูกกาแฟอาราบิก้าภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่. Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 408–417. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.38
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

นุชจรินทร์ จันทร์แจ่ม

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

คณิตา ตังคณานุรักษ์

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

กนกอร อัมพรายน์

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

References

กรมส่งเสริมการเกษตร, สถิติการปลูกกาแฟอาราบิก้าในประเทศไทย, แหล่งที่มา : http://www.agriinfo.doae.go.th, 8 กันยายน 2560.
กองจัดการคุณภาพน้ำ, 2540, เกณฑ์ระดับคุณภาพน้ำและมาตาฐานคุณภาพน้ำประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.
เกษมศรี ซับซ้อน, 2541, ปฐพีวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4, นานาสิ่งพิมพ์, กรุงเทพฯ.
จรินทร คงรักษ์, 2549, การศึกษาคุณภาพแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง, เอกสารวิชาการกลุ่มงานตะกอนและคุณภาพน้ำ, สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ, กรมชลประทาน, กรุงเทพฯ.
ประชุม สันทัตการ, เกษม จันทร์แก้ว และนิพนธ์ ตั้งธรรม, 2527, การเสื่อมค่าทางเคมีของดินป่าดิบเขาภายหลังถูกแผ้วถางเป็นไร่เลื่อนลอย, ผลงานวิจัยอนุรักษ์วิทยา เล่มที่ 1 คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธีระเดช พรหมวงศ์, นิรุศ ยิ้มแย้ม, วราพงษ์ บุญมา, นิธิ ไทยสันทัด และประเสริฐ คำอ่อน, 2541, ผลกระทบของการปลูกกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน, ว.เกษตร 14(3): 255-262.
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548, ลักษณะสมบัติของชุดดินในภาคเหนือและที่สูงตอนกลางของประเทศไทย, เอกสารวิชาการฉบับที่ 53, กรุงเทพฯ.
สุวรรณี แทนธานี, 2555, จุลินทรีย์เทคโนโลยี ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบํารุงดิน, ว.กรมวิทยาศาสตร์บริการ 60(190): 19-29.
สุมิตรา บุญเกิด, 2557, การผลิตกาแฟอาราบิก้าใน ระบบวนเกษตรของเกษตรกรตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ ธรรมเขต, 2533, สภาพแวดล้อมสำหรับการเจริญของกาแฟอาราบิก้า, ว.วิชาการเกษตร 8(1): 8-14.
Barber, R.G, 1995, Soil degradation in the tropical lowlands of Santa Cruz, Land Degrad. Rehab. 6(2): 95-107.
de Geus, J.G., 1973, Fertilizer guide for the tropics and subtropic, 2nd Ed., Center D’Etude de L’Azote, Zirich, Switzerland.
Environmental Protection Agency, 1973, Water Quality Criteria, A Report of the Committee on Quality Criteria, Environmental Studies oard, U.S. Government Printing Office, Washington D.C.
McColl, J.G. and Grigal, D.F., 1979, Nutrient losses in leaching and erosion by intensive forest harvesting, pp. 231-248, In US Forest Service, Impact of Intensive Harvesting on Forest Nutrient Cycling, United State University of New York.
Soil Science Society of America, Biology Life Soil, Available Source: https://www.soils4 teachers.org/biology-life-soil, December 18, 2017.