ผลของสายพันธุ์ข้าวโพดต่อการพึ่งพาราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา

Main Article Content

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสายพันธุ์ข้าวโพด (Zea mays L.) ต่อการพึ่งพาราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการพึ่งพาต่อราด้านการเจริญเติบโตและการดูดซับฟอสฟอรัสของข้าวโพด โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยข้าวโพด 9 สายพันธุ์ ที่มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศ ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน (B1, B2 และ B3) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (F1, F2 และ F3) และข้าวโพดหวาน (S1, S2 และ S3) ชนิดละ 3 สายพันธุ์ ปลูกข้าวโพดในชุดดินปากช่องที่อบฆ่าเชื้อร่วมกับการใส่และไม่ใส่หัวเชื้อรา เพื่อใช้ในการคำนวณการพึ่งพาต่อรา ผลการวิจัยพบว่าการพึ่งพาต่อราด้านการเจริญเติบโตมากที่สุดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ F1, F2 และ F3 เท่ากับ 154, 160 และ 156 % ตามลำดับ และน้อยที่สุดในข้าวโพดฝักอ่อน B1, B2 และ B3 เท่ากับ 10, -5 และ 16 % ตามลำดับ ในขณะที่ข้าวโพดหวานมีการพึ่งพาต่อราด้านการเจริญเติบโตแตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์ คือ 87-129 % เช่นเดียวกับการพึ่งพาต่อราด้านการดูดซับฟอสฟอรัส ซึ่งพบว่ามากที่สุดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ F1, F2 และ F3 เท่ากับ 237, 250 และ 225 % ตามลำดับ และน้อยที่สุดในข้าวโพดฝักอ่อน B1, B2 และ B3 เท่ากับ 17, -3 และ 14 % ตามลำดับ ในขณะที่ข้าวโพดหวานมีการพึ่งพาต่อราด้านการดูดซับฟอสฟอรัสแตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์ คือ 116-247 % ดังนั้นผลการวิจัยจึงชี้ให้เห็นว่าสายพันธุ์ของข้าวโพดมีผลต่อการพึ่งพาต่อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา ซึ่งอาจจะเนื่องจากความแตกต่างของประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัส การเข้าอยู่อาศัยของราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาในราก และระบบรากของข้าวโพดแต่ละสายพันธุ์

คำสำคัญ : การพึ่งพา; ราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา; ข้าวโพด

 

Abstract

Effect of corn (Zea mays L.) cultivar on arbuscular mycorrhizal (AM) dependency of corn growth and phosphorus (P) uptake were evaluated. Pot experiment was undertaken in CRD with 4 replications. Treatments were 9 economical corn cultivars, including each of 3 cultivars of baby corn (B1, B2 and B3), field corn (F1, F2 and F3) and sweet corn (S1, S2 and S3). The corns were grown on sterilized soil with and without AM inoculation. These data were used for calculating the AM dependency. The results showed that the AM dependency of growth was highest in field corn F1 (154 %), F2 (160 %) and F3 (156 %), and lowest in baby corn B1 (10 %), B2 (-5 %) and B3 (16 %). However, the AM dependency of sweet corn growth had differed between cultivars; 87-129 %. Similar to the AM dependency of P uptake, there was highest in field corn F1 (237 %), F2 (250 %) and F3 (225 %), and lowest in baby corns B1 (17 %), B2 (-3 %) and B3 (14 %). However, the AM dependency of P uptake among cultivars of sweet corn had varied from 116 to 247 %. Therefore, the results suggested that corn cultivars had affected on AM dependency. This might be due to difference in P utilization efficiency, AM root colonization and root system of each corn cultivar.

Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; corn; dependency

Article Details

How to Cite
ภูมิพันธ์ พ. (2013). ผลของสายพันธุ์ข้าวโพดต่อการพึ่งพาราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา. Thai Journal of Science and Technology, 2(1), 60–69. https://doi.org/10.14456/tjst.2013.21
Section
บทความวิจัย
Author Biography

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120