ผลของการใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยคอกในการผลิตผักคะน้าอินทรีย์

Main Article Content

พนมพร วรรณประเสริฐ
ดุสิต อธินุวัฒน์
ชนัญ ผลประไพ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยคอก (ที่ผลิตเพื่อการค้า) ในการผลิตผักคะน้าอินทรีย์ ในกลุ่มชุดดินที่ 35 อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2555 ขนาดแปลงปลูก 1.2 x 4 เมตร ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ได้แก่ การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดเพียงชนิดเดียว 100 % การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด 75 % ร่วมกับปุ๋ยคอก 25 % การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด 50 % ร่วมกับปุ๋ยคอก 50 % การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด 25 % ร่วมกับปุ๋ยคอก 75 % และการใช้ปุ๋ยคอก 100 % ทำการเก็บดินเพื่อวิเคราะห์สมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ค่า pH สภาพการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรียวัตถุ แอมโมเนียมไนเตรท ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของผักคะน้าทุก 7 วัน จนเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูปลูกที่ 1 และเก็บข้อมูลหลังจากย้ายกล้า 14 วัน และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูปลูกที่ 2 ผลการวิเคราะห์ ปอเทืองและปุ๋ยคอก พบว่าปอเทืองมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงถึง 74 % และมีค่าสัดส่วน C/N เป็น 19/1 ในขณะที่ปุ๋ยคอกมีปริมาณอินทรียวัตถุ 40.57 % และค่าสัดส่วน C/N เป็น 10/1 ทำให้การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด 25 % ร่วมกับปุ๋ยคอก 75 % ให้ปริมาณผลผลิตดีที่สุด คือ ผลผลิต 496.32 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 1 และ 508.03 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 2 ดังนั้นการใช้ปอเทืองทดแทน ปุ๋ยคอกในอัตรา 25 % เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงสมบัติของดินและการผลิตผักคะน้าอินทรีย์ ซึ่งเกษตรกรควรปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด อัตรา 950 กิโลกรัมน้ำหนักสด/ไร่ หรือหว่านเมล็ด 1.6 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อจะทำการปลูกคะน้าจึงใส่ปุ๋ยคอก 1,125 กิโลกรัม/ไร่

คำสำคัญ : ปุ๋ยพืชสด; เกษตรอินทรีย์; การปรับปรุงบำรุงดิน; ปุ๋ยคอก

 

Abstract

A study of Crotalaria juncea as green manure and animal manure improving the soil to produce an organic Chinese kale in Sanamchaikhet district, Chachoengsao was started from February to August, 2012 on RCBD with 5 treatments and 4 replications. Each unit covered 4.8 m2 area while its planting space was 20 x 20 cm. Data collection and analysis included meteorological data of experimental site, the chemical and physical properties of the soil before and after planting, growth curves, yields and yield components were carried out. Due to the properties of Crotalaria juncea and animal manure, Crotalaria juncea has more organic matter and wider C/N ratio (74 % and 19/1 respectively) than animal manure (40.57 % and 10/1 respectively). The results showed that using Crotalaria juncea at 25 % (950 kg fresh yield per rai) and animal manure at 75 % (1,125 kg per rai) gave the significantly highest fresh yield of 496.32 kg per rai in the 1st crop and 508.03 kg per rai in the 2nd crop. There should be using Crotalaria juncea as green manure at 950 kilogram fresh yield per rai and add animal manure 1,125 kilogram per rai to produce an organic Chinese kale.

Keywords: green manure; organic farming; soil improvement; animal manure

Article Details

How to Cite
วรรณประเสริฐ พ., อธินุวัฒน์ ด., & ผลประไพ ช. (2013). ผลของการใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยคอกในการผลิตผักคะน้าอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology, 2(2), 115–124. https://doi.org/10.14456/tjst.2013.18
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พนมพร วรรณประเสริฐ, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ดุสิต อธินุวัฒน์, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ชนัญ ผลประไพ, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120