การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวมีสีด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์

Main Article Content

จาตุรงค์ สัมฤทธิ์
ธีระชัย ธนานันต์
นฤมล ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

ข้าวเป็นธัญพืชหลักของโลกชนิดหนึ่งที่ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง ข้าวมีสีเป็นข้าวที่มี    แร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญมากกว่าข้าวขาวทั่วไป ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม วิตามินบี 1 เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้จำแนกพันธุ์และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวมีสี 10 พันธุ์ ซึ่งเป็นข้าวเจ้า 8 พันธุ์ และข้าวเหนียว 2 พันธุ์ ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีโดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 20 ชนิด และเทคนิคไอเอสเอสอาร์โดยใช้ไพรเมอร์ไมโครแซทเทลไลต์ 10 ชนิด เมื่อวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยโปรแกรม NTSYS-pc พบว่าสามารถจำแนกพันธุ์ข้าวมีสีได้ โดยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.62-0.86 ส่วนเทคนิคไอเอสเอสอาร์ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.57-0.95 เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้จากทั้งสองเทคนิคมาวิเคราะห์ร่วมกันพบว่ามีค่าดัชนีความเหมือน 0.62-0.89 เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของแต่ละเทคนิคกับลักษณะสัณฐานพบว่าเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีให้ผลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

คำสำคัญ : ข้าว; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การจำแนก; แฮตอาร์เอพีดี; เครื่องหมายดีเอ็นเอ

 

Abstract

Rice is one of the world cereal crops which contain high carbohydrate content. Colored rice has more important minerals and vitamins than white rice generally includes calcium, iron, potassium, vitamin B1 etc. In this research, 10 colored rice cultivars divided into 8 non-glutinous rice and 2 glutinous rice were used to identification and genetic relationship analysis using HAT-RAPD and ISSR techniques with 20 random primers and 10 microsatellite primers, respectively. All of the DNA fingerprinting were analyzed base on polymorphic bands by the NTSYS-pc program, which can be classified with similarity coefficients ranging 0.62 to 0.86 for HAT-RAPD and 0.57 to 0.95 for ISSR. It also provides an analysis of genetic relationships using the data of two techniques analysis together, which can be classified with similarity coefficients ranging 0.62 to 0.89. Comparative analysis between two DNA marker techniques and morphology found that HAT-RAPD give more reliable result.

Keywords: rice; genetic relationship; identification; HAT-RAPD; DNA marker

Article Details

How to Cite
สัมฤทธิ์ จ., ธนานันต์ ธ., & ธนานันต์ น. (2014). การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวมีสีด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์. Thai Journal of Science and Technology, 3(2), 113–122. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.4
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ