ผลของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กระตุ้นภูมิต้านทานข้าวเพื่อลดการระบาดของโรคใบหงิก

Main Article Content

วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ
ดุสิต อธินุวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

โรคใบหงิกที่เกิดจาก Rice ragged stunt virus (RRSV) เป็นโรคไวรัสที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการปลูกข้าวในวงกว้าง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการโรคดังกล่าวด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แต่ละชนิด ได้แก่ Bacillus subtilis TU-Orga1, Pseudomonas fluorescens SP007s และ Beauveria bassiana เข้าร่วมในระบบการปลูกข้าว จุลินทรีย์แต่ละชนิดถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุม RRSV แมลงพาหะ และการกระตุ้นภูมิต้านทานพืช ได้แก่ salicylic acid (SA) และ superoxide dismutase (SOD) ในสภาพไร่ เปรียบเทียบกับการปฏิบัติแบบดั้งเดิมของเกษตรกร ซึ่งในการทดลองติดต่อกัน 2 ฤดู นั้นใช้ TU-Orga1, SP007s และ B. bassiana สูตรสำเร็จชนิดผงในอัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (ความเข้มข้นประมาณ 1x108 cfu/ml) โดยนำไปพ่นต้นข้าว 8 ครั้ง (ก่อนปลูก วันปลูก และเมื่อข้าวอายุ 15, 30, 45, 60, 70 และ 90 วัน) ร่วมกับการจัดการธาตุอาหารโดยการเติมปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่ หินฟอสเฟต 20 กก./ไร่ โพแทสเซียมฮิวเมท 1 กก./ไร่ และพ่นใบด้วยน้ำหมักมูลสุกร 5 ครั้ง เมื่อข้าวอายุ 30, 45, 60, 70 และ 90 วัน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการลดการระบาดของ RRSV 76.3 ถึง 93.5 % และลดการระบาดของแมลงพาหะ 100 % ตลอดจนเพิ่มผลผลิตข้าว 9-33 % เปรียบเทียบกับการปฏิบัติดั้งเดิมของเกษตรกร (p=0.05) อีกทั้ง TU-Orga1, SP007s และ B. bassiana ยังแสดงให้เห็นว่ามีการสะสม SA และ SOD ในต้นข้าวปริมาณสูงกว่าการปฏิบัติแบบดั้งเดิมของเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการควบคุมโรค แมลงพาหะ/และแมลงศัตรูพืช ยิ่งไปกว่านั้นจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ดังกล่าวไม่เป็นปฏิปักษ์กับแมลงศัตรูธรรมชาติ (ด้วงเต่าปีกลายหยัก ด้วงเต่าปีกลายจุด แมลงปอเข็ม และแมงมุม) และไม่พบสารพิษตกค้างในเมล็ดข้าวสารที่ได้จากเทคโนโลยีที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้ 

คำสำคัญ : แมลงพาหะ; แมลงศัตรูธรรมชาติ; การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี; เกษตรอินทรีย์; โรคไวรัส

 

Abstract

Ragged stunt disease caused by Rice ragged stunt virus (RRSV) is the most devastating viral disease of rice production worldwide. Studies were conducted to develop management strategies using the individually effective microorganism of Bacillus subtilis TU-Orga1, Pseudomonas fluorescens SP007s, and Beauveria bassiana in the rice production system. They were investigated for their ability to control RRSV, insect vector, and activate plant defense-related enzyme, salicylic acid (SA) and superoxide dismutase (SOD) under field conditions, compared with the conventional practice by farmers. In two-consecutive field trials, TU-Orga1, SP007s, and B. bassiana formulated in a powder delivering system, 2 g/20L of water applied as foliar spray (1x108 cfu/ml) for 8 times (before planting, planting day, 15, 30, 45, 60, 70, and 90 days after planting) combined with soil nutrition management by adding 500 kg/rai of manure, 20 kg/rai of rock phosphate, 1 kg/rai of potassium humate and foliar spray liquid fertilizer of swine manure fermentation for 5 times at 30, 45, 60, 75, and 90 days after planting, had the most effect  on reducing RRSV (76.3-93.5 %) and its insect vector (100 %) and increased rice yield (9-33 %), compared to conventional practice (p=0.05). The TU-Orga1, SP007s, and B. bassiana also showed the higher accumulation of SA and SOD activity in rice plant than the conventional practice that correlated with their disease, insect vector and insect pests reduction ability. Moreover, the biological agents did not inhibit natural enemies (lady beetle, seven-spotted lady beetle, damselfly, and wolf spider) and the chemical residues were not found in rice grain from the studied technology. 

Keywords: insect vector; natural enemies; biological control; organic farming; viral disease

Article Details

How to Cite
เชื้อบุญ ว., & อธินุวัฒน์ ด. (2015). ผลของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กระตุ้นภูมิต้านทานข้าวเพื่อลดการระบาดของโรคใบหงิก. Thai Journal of Science and Technology, 4(3), 255–271. https://doi.org/10.14456/tjst.2015.19
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ