ผลของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของยางพาราพันธุ์เศรษฐกิจ

Main Article Content

ภิรญา ชมภูผิว
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
ปวีณา ทองเหลือง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของยางพาราพันธุ์เศรษฐกิจสำคัญ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 x 2 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ (1) พันธุ์ยางพารา (BPM 24, RRIM 600, RRIT 251 และ RRIT 408) และ (2) ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (ไม่ใส่และใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา) โดยย้ายกล้ายางพาราลงปลูกในกระถางร่วมกับการไม่ใส่และใส่ราอาร์บัสคูลาไมคอร์ไรซาจนกระทั่งอายุ 12 เดือน ผลการทดลองพบว่ายางพาราแต่ละพันธุ์มีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน โดยพันธุ์ RRIT 408 และ RRIT 251 มีการเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์ BPM 24 และ RRIM 600 และราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีการเข้าอยู่อาศัยในรากของยางพาราแตกต่างกันโดยพันธุ์ BPM 24, RRIT 408 และ RRIT 251 มีการเข้าอยู่อาศัยของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในรากมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 อย่างไรก็ตาม การใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีผลทำให้ความสูงเมื่ออายุ 4 เดือน และน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินของยางพาราทุกพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยปฏิสัมพันธ์ร่วมของพันธุ์กับราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ดังนั้นผลการทดลองนี้จึงชี้ให้เห็นว่าราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพาราได้ทุกพันธุ์ 

คำสำคัญ : ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา; ยางพารา

 

Abstract

A study on effect of arbuscular mycorrhizal (AM) fungi on growth of economic rubber varieties was undertaken in 4 x 2 Factorial in CRD with 3 replications, consisting 2 factors; (1) rubber varieties (BPM 24, RRIM 600, RRIT 251 and RRIT 408) and (2) arbuscular mycorrhizal (AM) fungi (without and with AM fungi). Rubber seedling without and with AM fungi were planted in pot for 12 months. The results had shown that each rubber variety had difference in growth rate, RRIT 408 and RRIT 251 grew better than BPM 24 and RRIM 600. Difference in AM colonization of each rubber varieties was also found. The AM colonization in roots of BPM 24, RRIT 408 and RRIT 251 were higher than RRIM 600. However, application of AM fungi had resulted in increasing height at 4 months old and shoots dry weight of all rubber varieties. Interaction between rubber variety and AM fungi did not effect on the growth of rubber. Therefore, these results indicated that AM fungi can promote the growth of all rubber varieties. 

Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; rubber 

Article Details

How to Cite
ชมภูผิว ภ., ภูมิพันธ์ พ., พวงจิก ธ., & ทองเหลือง ป. (2017). ผลของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของยางพาราพันธุ์เศรษฐกิจ. Thai Journal of Science and Technology, 6(1), 79–88. https://doi.org/10.14456/tjst.2017.32
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ