การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการระบุชนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum สกุลย่อย

Main Article Content

ธีระชัย ธนานันต์
ทีปกา มีเสงี่ยม
นฤมล ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อีกทั้งการจำแนกด้วยลักษณะสัณฐานทำได้ยากและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้เครื่องหมายสก๊อตในการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอและประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum สกุลย่อย Brachypetalum หมู่ Brachypetalum จำนวน 14 ชนิด ที่พบในประเทศไทย โดยใช้ไพรเมอร์ 80 ชนิด ซึ่งคัดเลือกไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ 22 ชนิด พบแถบดีเอ็นเอรวมทั้งหมด 332 แถบ มีขนาดประมาณ 250-3100 คู่เบส โดยเป็นแถบดีเอ็นเอที่มีความหลากรูป 313 แถบ เมื่อคำนวณค่าดัชนีความเหมือนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.0 โดยเลือกวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA สามารถจัดกลุ่มกล้วยไม้รองเท้านารีเป็น 3 กลุ่ม มีค่าดัชนีความเหมือน 0.30-0.79 จากแผนภูมิความสัมพันธ์พบว่ารองเท้านารีฝาหอยกับรองเท้านารีเหลืองปราจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากที่สุด มีค่าดัชนีความเหมือน 0.79 ดังนั้นเครื่องหมายสก๊อตจึงใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum สกุลย่อย Brachypetalum หมู่ Brachypetalum ได้ และข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้วางแผนการ ปรับปรุงพันธุ์ต่อไป 

คำสำคัญ : กล้วยไม้รองเท้านารี; สกุล Paphiopedilum; หมู่ Brachypetalum; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; เครื่องหมายสก๊อต

 

Abstract

Nowadays the members of genus Paphiopedilum are endangered and their morphological identifications are difficult and needed the experts. Thus, this research used SCoT markers to create a DNA fingerprint and an assessment of genetic relationship among 14 species of genus Paphiopedilum subgenus Brachypetalum section Brachypetalum in Thailand. The total 80 primers were screened. Twenty-two selected SCoT primers amplified 332 clear and reproducible bands, with sizes ranging from 250 to 3100 bp. Among them, 313 bands were polymorphic. The similarity coefficients were calculated and a dendrogram was constructed based on polymorphic bands using the UPGMA, NTSYS-pc software version 2.0. The result showed that, Paphiopedilum could be classified into three clusters with similarity coefficients ranging from 0.30-0.79. The dendrogram analysis of SCoT markers revealed the closed relation between P. bellatulum and P. concolor subsp. Reynieri with similarity coefficient of 0.79. Finally, these results indicate that the SCoT markers are capable of assessment of genetic relationship among Paphiopedilum subgenus Brachypetalum section Brachypetalum, which can be used for planning in the breeding program. 

Keywords: lady's slipper orchid; Paphiopedilum; Brachypetalum; genetic relationship; SCoT marker

Article Details

How to Cite
ธนานันต์ ธ., มีเสงี่ยม ท., & ธนานันต์ น. (2017). การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการระบุชนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum สกุลย่อย. Thai Journal of Science and Technology, 6(2), 161–170. https://doi.org/10.14456/tjst.2017.17
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ