กลวิธีการแปลวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • อรองค์ ชาคร คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

คำสำคัญ:

การแปลวรรณกรรม, โวหารภาพพจน์, เรื่องสั้นไทย, การแปลไทยเป็นอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “กลวิธีการแปลวรรณกรรม” ศึกษาเรื่องสั้นคัดสรรไทยจ านวน 5 เรื่องที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากหนังสือ “Lotus Blooms in the Stream of Literature (ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม) รวมเรื่องสั้นและบทกวีจากนักเขียนไทยและเวียดนาม” ตีพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรมโดยนำเสนอการวิเคราะห์กลวิธีการแปล วรรณกรรมด้านโวหารภาพพจน์ที่ได้รับการถ่ายทอดข้ามภาษาโดยมุ่งเน้นการสำรวจความเท่าเทียมในการแปล (equivalence) ผลการวิจัยพบว่ามีการใช้โวหารภาพพจน์ หลัก 3 ประเภท โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. อุปมาอุปไมย (Simile) 2. อุปลักษณ์ (Metaphor) และ 3. บุคลาธิษฐาน (Personification) กลวิธีที่ใช้ในการแปลโวหารภาพพจน์ส่วนใหญ่จะรักษาโวหารไว้ให้คล้ายคลึงต้นฉบับมากที่สุด มีเพียงบางกรณีที่โวหารเปลี่ยนรูปไปแต่ยังคงภาพพจน์ไว้ได้เหมือนเดิมนับว่าเป็นการรักษาความเท่าเทียมไว้ได้ในระดับดี ผู้วิจัยได้แสดงทัศนะผ่านข้อเสนอแนะสองส่วน ในส่วนแรกเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและการแปลวรรณกรรมออกสู่สากล และในส่วนที่สองนั้นเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงวัฒนธรรม. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2556).
ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม (Lotus Blooms in the Stream of Literature).
กรุงเทพฯ : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม.

เจตนา นาควัชระ. (2552). ทางสายกลางแห่งวรรณคดีวิจารณ์. วารสารวิภาษา, 1(17), 15-28.

ชุติมา สัจจานันท์ และคณะ. (2543). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินค่าวรรณกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธเนศ เวศร์ภดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์: การสร้างสุนทรีย์แห่งวรรณคดีไทย.
กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วินิตา ดิถิยนต์. (2533). เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติการแปล.
นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริลักษณ์ ทวีกิจรุ่งทวี. (2547). การแปลสำนวนจากนวนิยายภาษาไทยของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kansa, M. (2002). Linguistics: Body part-related metaphors in Thai and English.
(Doctoral dissertation, Ball State University, Indiana).

Larson, M. (1998). Meaning-Based Translation: A guide to cross-language equivalence.
London: University Press of America.

Newmark, P. (1988). Approaches to Translation. London: Phoenix.

Ruchirawan, M. (1984). Linguistics: Towards a descriptive model of Thai-Englishtranslation.
(Doctoral dissertation, Georgetown University, Washington, D.C.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29