“ห้องสมุดไทยจะก้าวไปกับไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างไร”

ผู้แต่ง

  • Nopparat Panorpattanachai ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  • Narumol Ruenwai สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

คำสำคัญ:

ไทยแลนด์ 4.0, ห้องสมุดกับการพัฒนา, การรู้เท่าทันดิจิทัล, การพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ

บทคัดย่อ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ห้องสมุดไทยจะก้าวไปกับไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างไร” (Thai Library in Digital Era of Thailand 4.0) จัดขึ้นโดยชมรมห้องสมุดเฉพาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาในอนาคตของห้องสมุดไทยในทุกภาคส่วน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล การสัมมนาแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ (1) การบรรยายเรื่อง ยุคนี้ อะไร ๆ ก็ดิจิทัล ซึ่งกล่าวถึงการปรับตัวของห้องสมุดเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล (digital transformation) แต่ละห้องสมุดจำเป็นต้องหาลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนในอนาคต การวางแผนยุทธศาสตร์ของห้องสมุดให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และ Education 4.0 (2) การเสวนา เรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่กับห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งกล่าวถึง นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของห้องสมุดที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยในการบริหารจัดการงานห้องสมุด ลดขั้นตอน บริหารจัดการพื้นที่ เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้สะดวกขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ และสร้างคุณค่าให้ผู้ใช้บริการ เมื่อลูกค้าได้รับคุณค่าจากการใช้สินค้าและบริการที่ดี เป็นที่พึงพอใจก็จะเกิดความประทับใจอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการกลับมาใช้ซ้ำ (3) การบรรยายเรื่อง Digital Literacy ซึ่งกล่าวถึง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องมือและเครือข่ายทางการสื่อสารเพื่อระบุแหล่งและประเมินสารสนเทศ สร้างสารสนเทศ เข้าใจและใช้สารสนเทศได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ ทั้งผู้ให้บริการสารสนเทศและผู้ใช้จะต้องมีทักษะการรู้ดิจิทัล (5) การบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Pitching Your Library ซึ่งกล่าวถึงการพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ (pitching) เป็นทักษะพื้นฐานที่บรรณารักษ์และบุคลากรทางสารสนเทศจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้บริหารยอมรับแนวความคิดและอนุมัติงบประมาณ หรือได้รับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด หรือห้องสมุดกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การโน้มน้าวใจจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง (fact)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทีซีดีซี (TCDC). (2561). ขับเคลื่อนสตาร์ทอัพด้วยการออกแบบ. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2561 สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2561. URL: https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detailขับเคลื่อนสตาร์ทอัพด้วยการออกแบบ

วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2560). การปฏิบัติราชการภายใต้นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2561.URL:https://www.ega.or.th/upload/download/file_afd599ae9f1f7c216417d000c5d01c20.pdf

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). Digital literacy Thailand. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2561. URL: http://dlthailand.org

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2561). จับตา 8 ทักษะดิจิทัลมาแรงรับปี 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2561. URL:https://www.dga.or.th/th/content/890/11710/?fbclid=IwAR10866m YexvI65UFl-42Ti6TQ6P2pyRCrMtUWWSD2oeMXMegq1e8WaGNY0

ไอซีดีแอล (ICDL). (2560). ICDL Thailand. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2560. URL: https://www.icdlthailand.org/

Chetty, K. (2018). Bridging the digital divide: measuring digital literacy. Retrieved June 12, 2018. URL: https://www.g20-insights.org/policy_briefs/bridging-digital-divide- measuring-digital-literacy/

Gilster, P. (1997). Digital literacy. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Joint Information Systems Committee(Jisc). (2014). Developing digital literacies. Retrieved December 24, 2017. URL: https://www.jisc.ac.uk/guides/developing-digital-literacies

Learning Space Toolkit. (2017). Service design process. Retrieved December 24, 2017. URL: https://learningspacetoolkit.org/services-and-support/service-design-process/index.html

Rao, V.P. (2015) What is the difference between design thinking and service design thinking? Retrieved December 24, 2017. URL:http://marketerstouchpoint.com/blog/what-is-the-difference-between-design-thinking-and-service-design-thinking/

Ray, A. (2017). Digital literacy. In Encyclopedia of Information Science and Technology. (pp. 2225-2234). Khosrow-Pour, Mehdi (Editor). Hershey, PA: IGI Global.

Solis, B. (2016). The six stages of digital transformation. Retrieved December 24, 2017. URL: https://www.prophet.com/thinking/2016/04/the-six-stages-of-digital-transformation/

Sorj, B. (2008). The dimension of the digital divide. Retrieved December 24, 2017. URL:http://books.scielo.org/id/cvgxd/pdf/sorj-9788599662489-07.pdf

The British Computer Society. 2017. BCS digital literacy for life programme. Retrieved December 24, 2017. URL: https://www.bcs.org/category/17853

UNESCO Institute for Information Technologies in Education. (2011). Digital literacy in education. Retrieved December 24, 2017. URL: http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002144/214485e.pdf

University of Illinois. (2014). Digital literacy definition and resources. Urbana, IL: University of Illinois. Retrieved December 24, 2017. URL:http://www.library.illinois.edu/diglit/definition.html

White, J. (2015). Digital literacy skills for FE teachers. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-03