การจัดการข้อมูลบริหารสิทธิของห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ

เหตุผลความจำเป็นและกรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์, ห้องสมุด, หอจดหมายเหตุ

บทคัดย่อ

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ปรากฏในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2558) ซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และหน่วยงานบริการสารสนเทศต่างๆ คือ การขยายความคุ้มครองข้อมูลบริหารสิทธิของงานอันมีลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในมาตรา 53/3 ได้กำหนดให้ห้องสมุดและหอจดหมายเหตุเป็นหนึ่งในประเภทองค์กรที่ได้รับการยกเว้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวงเพิ่มเติมในการกำหนดลักษณะของข้อมูลบริหารสิทธิและงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับการยกเว้น บทความนี้อภิปรายเหตุแห่งความจำเป็นของห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และหน่วยงานบริการสารสนเทศในการได้รับข้อยกเว้นดังกล่าว พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในวิชาชีพสารสนเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงพาณิชย์. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของข้อมูลการบริหารสิทธิ ที่จะทำการลบหรือเปลี่ยนแปลง และลักษณะของงานหรือสำเนางานอันลิขสิทธิ์ ที่มีการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิที่จะทำการ เผยแพร่ต่อสาธารณชน พ.ศ. 2559. (2559).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 26 ก. หน้า 1-2.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่มที่ 132 ตอนที่ 6 ก. หน้า 7-13.

พระราชบัญญัติลิทธิ์ พ.ศ. 2537. (2537).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 111 ตอนที่ 59 ก. หน้า 1-22.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. (2550)
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 27 ก. หน้า 4-13.

อรพรรณ พนัสพัฒนา. (2557). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

WIPO Copyright Treaty, United States-WIPO, July 28, 1997.
(Treaty Doc. 105-17).
Retrieved from https://www.wipo.int/treaties/en/text.jsp?file_id=295166#P89_12682

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29