การพัฒนาอรรถาภิธานสารสนเทศศาสตร์ด้านการบริการสารสนเทศ

Main Article Content

กฤติกา จิวาลักษณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอรรถาภิธานสารสนเทศศาสตร์ด้านการบริการสารสนเทศ    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตำราภาษาไทยจำนวน 210 ชื่อเรื่อง บทความทางวิชาการภาษาไทย จำนวน 225 บทความ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2560  และหนังสืออ้างอิงภาษาไทยจำนวน 5 ชื่อเรื่อง และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกที่ร่วมพิจารณาตรวจอรรถาภิธาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการรวบรวมคำศัพท์ และการสนทนากลุ่มซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักๆ คือ การคัดเลือกคำศัพท์ที่สอดคล้องและครอบคลุมขอบเขตเนื้อหาด้านการบริการสารสนเทศ ความถูกต้องของการวิเคราะห์คำศัพท์ และการจัดลำดับชั้นคำศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลมาวิเคราะห์หาความถี่โดยการนับจำนวนของคำศัพท์ที่ปรากฏในแต่ละความสัมพันธ์ (USE, UF, BT, NT, RT ฯลฯ)


ผลการวิจัยพบว่า มีคำศัพท์ที่ปรากฏในแต่ละความสัมพันธ์ รวมทั้งสิ้น 579 คำ จำแนกเป็นศัพท์หลัก จำนวน 112 คำ คำศัพท์ที่มีความหมายกว้างกว่าศัพท์หลัก (Broader Term - BT) จำนวน 68 คำ คำศัพท์ที่มีความหมายแคบกว่าศัพท์หลัก  (Narrower Term - NT) จำนวน 154 คำ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศัพท์หลัก (Related Term - RT) จำนวน 152 คำ คำศัพท์ที่ไม่ใช้เป็นศัพท์หลักแต่เป็นการโยงมาจากศัพท์หลัก  (Used For - UF) จำนวน 59 คำ และคำศัพท์ที่กำหนดให้เป็นศัพท์หลักซึ่งเป็นการโยงไปยังศัพท์หลัก  (USE) จำนวน 34 คำ

Article Details

Section
Research Article