การใช้สารสนเทศของครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ฤทัยวรรณ วงศ์ชนะ
น้ำทิพย์ วิภาวิน
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศของครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน  553  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการใช้สารสนเทศ  เพื่อกำหนดขอบเขตด้านการศึกษา อาชีพ และพัฒนาบุคลิกภาพ ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้เพื่อติดตามประเมินผล และเพื่อแนะแนวด้านการศึกษา สื่อที่ใช้มากที่สุด คือ สื่อบุคคล 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของครูแนะแนวโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในการปฎิบัติหน้าที่ พบว่า ครูแนะแนวที่มีอายุ และประสบการณ์ในการปฎิบัติหน้าที่ต่างกัน มีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  จำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียนที่สังกัด พบว่า ครูแนะแนวมีการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกัน  3) ปัญหาการใช้สารสนเทศที่อยู่ในระดับมาก คือ เนื้อหาสารสนเทศไม่สมบูรณ์ ขาดความถูกต้อง ไม่น่าเชื่อถือ  รองลงมา คือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ไม่เพียงพอ 

 

Information Use by School Guidance Counselors in Surattani Province

Ruethaiwan Wongchana1, Namtip Wipawin2, Tadasak Wachiraprechapong3

1Master’s Student, Department of Information Science, Faculty of Liberal Arts, Sukhothai Thammatirat Open University

2Ph.D. (Library and Information Studies), Associate Professor, Department of Information Science, Faculty of Liberal Arts, Sukhothai Thammathirat Open University

3Associate Professor, Department of Library and Information Science, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University

The objectives of this research were 1) to study the information use by school guidance counselors in Suratthani province, 2) to compare information use by school guidance counselors in Suratthani province, and 3) to study the problems of information use by school guidance counselors in Suratthani province.

This research was a survey study, and the population consisted of 553 school guidance counselors in Suratthani province. The instruments used were questionnaires. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way analysis of variance.

The  research  findings can be summarized as follows: 1) school  guidance counselors use information to support the scope of study, career, and personality development of their guidance work most often, followed by to follow up the evaluation and to provide educational guidance. The most popular media is personal 2) Comparing information use by age and experience to perform duties, a significant difference of 0.5 overall was found while comparing by education background and school size, there was no statistical significance. 3) The most common problem of information use was incomplete, inaccurate and unreliable information followed by insufficient information technology facilities.

Article Details

Section
Research Article