การพัฒนามาตรฐานและสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ในประเทศไทย

Main Article Content

ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์
ชุติมา สัจจานันท์
จันทิมา เขียวแก้ว
พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานและสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ในประเทศไทย  ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี  ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศและวิชาชีพวารสารศาสตร์  การสัมภาษณ์และการสอบถามความคิดเห็นผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรู้สารสนเทศและวารสารศาสตร์จากประเทศไทย  ประเทศญี่ปุ่น  และประเทศออสเตรเลีย  กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วยอาจารย์  นักวิชาการ  และนักวิชาชีพในสาขาวารสารศาสตร์/นิเทศศาสตร์  บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล  แบบสัมภาษณ์  และแบบสอบถาม  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  ผลการวิจัยพบว่ามาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ ในประเทศไทย   ประกอบด้วย 6 มาตรฐาน ได้แก่  มาตรฐานที่ 1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้  มาตรฐานที่ 2 การสืบค้นและจัดระบบสารสนเทศได้  มาตรฐานที่ 3 การประเมินแหล่งสารสนเทศและสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ  มาตรฐานที่ 4 การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตและนำเสนอเรื่องได้  มาตรฐานที่ 5  การใช้สารสนเทศเพื่อผลิตและนำเสนอเรื่องโดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ  และมาตรฐานที่ 6 การใช้สารสนเทศเพื่อผลิตและนำเสนอเรื่องได้อย่างถูกกฎหมาย

The Development of Information Literacy Standards and Competencies for Thai Undergraduate Students in Journalism

The purpose of this research was to develop information literacy standards and competencies for Thai undergraduate students in Journalism. This research was a mixed-method study comprising analysis of documents concerning information literacy and profession of Journalism, interviews and the use of questionnaires to collect opinion data from two groups of key informants.  The first group comprised experts on information literacy and journalism from Thailand, Japan, and Australia.  The second group comprised instructors, academics, and professionals in the fields of Journalism/Communication Arts, Library Science and Information Science.  Research instruments comprised a data recording form, interview structures and questionnaires.  Data were analyzed with content analysis and the use of index of congruence (IOC).  Research findings showed that information literacy standards for undergraduate students in Thailand comprised six standards, namely, Standard 1: The ability to determine the needs for information and information sources; Standard 2: The ability to search and organize information; Standard 3: The ability to critically evaluate information and information sources; Standard 4: The ability to use information and information technology to create and present stories; Standard 5: The ability to use information to create and present stories in accordance with professional code of ethics; and Standard 6: The ability to use information to create and present stories legally.

Article Details

Section
Research Article