การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของ แรงงานกัมพูชาในประเทศไทย

Main Article Content

จันทิมา เขียวแก้ว
ทัศนีย์ เกริกกุลธร
ศิริธร ยิ่งเรงเริง
พนิตนาฎ ชำนาญเสือ
พรเลิศ ชุมชัย

Abstract

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้บุคคลสามารถเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพมีความส าคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดีโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ต้องด าเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลสุขภาพจากสื่อสังคมออนไลน์ และความรู้เท่าทันสารสนเทศสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย จ านวน 900 คน ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม - กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษานี้ ประกอบด้วยแรงงานเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 62.9 มีอายุเฉลี่ย 31 ปี มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 59.8 ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงาน คิดเป็นร้อยละ 42.4 รองลงมาคืองานบริการ คิดเป็นร้อยละ 42.2 และมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 8,735 บาท ผลการศึกษาพบว่ามีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของแรงงานกัมพูชา โดยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารทุกวันทางโทรศัพท์มือถือ ทางไลน์ คิดเป็นร้อยละ17.1 เฟซบุ๊คคิดเป็นร้อยละ 18.3 และเพื่อดูวีดีโอคลิปหรือฟังเพลง คิดเป็นร้อยละ 7.3 มีการใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 27.3 พบว่าแรงงานกัมพูชามีความรู้เท่าทันสารสนเทศสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์จัดอยู่ในระดับต่ า มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.7 (SD = 0.9) และมีทักษะการ
สืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพจากอินเทอร์เน็ตในระดับน้อย และน้อยที่สุด ทุกรายการ โดยเฉพาะประเด็นการรู้จักรู้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศสุขภาพบนอินเทอร์เน็ตที่มีประโยชน์ และวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาค าตอบเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ การศึกษานี้ให้ข้อค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ในหมู่คนงานชาวกัมพูชาที่มีประโยชน์ส าหรับผู้กำหนดนโยบายและบุคลากรสุขภาพในประเทศไทย

Online social media uses and eHealth literacy of Cambodian workers in Thailand

Advanced technology enables easy access to electronic health information especially for migrant workers who live in the environment at risk for illness. Thus having ehealth literacy is an important part of being healthy. This study examines internet use, health information search from online media, and ehealth literacy of migrant workers in Thailand. The 900 Cambodian workers who answered the questionnaires in August - September 2016 were 62.9% of male with average age of 31 years and 59.8% were married. For types of works, 42.4% worked in factory and followed by 42.2% in service industries with the average salary of 8,735 baht. Findings indicated low rate of internet use only 51.1% of Cambodian workers. The purposes of using internet were for communicate through Line application (17.1%), Facebook accounted (18.3%), and to watch video clips or listen to music (7.3%). For period of internet usage was less than one hour at a time (27.3%). The media literacy, health electronic was at low level with mean score of 1.7 (SD = 0.9). Mean item scores showed low skill for searching health information from the internet especially on resources of health information and finding answer about health issues. This study provides information about internet use behaviors and ehealth literacy among Cambodian workers useful for policy maker and health personnel in Thailand.

Article Details

Section
Research Article