Prevalence and risk factors of work-related musculoskeletal disorders among fruit transport workers in Pathum Thani province

Authors

  • Nuttaporn Praditpod Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Santhanee Khruakhorn Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Kanjana Kuanpung Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Narut Panyasak Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Suchart Thong-art Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University

Keywords:

Prevalence, Risk factor, Work-related musculoskeletal disorders (WMSDs), Fruit transport workers, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, ความผิดปรกติของทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน, พนักงานขนผลไม้

Abstract

Introduction: Work-related musculoskeletal disorders (WMSDs) have been frequently found and increased among workers. The WMSDs impacted on the payment for cost of medical care, cost of worker’s compensation and work performance. Objective was to investigate the prevalence and risk factors of work-related musculoskeletal symptoms among fruit transport workers in Pathum Thani province.


Method: Two hundred and twenty eight fruit transport workers were interviewed. Inferential statistic was used to analyze association between factors and WMSDs by using Chi-squared test. The association was presented in Odds ratio (OR) and 95%CI. The significant level was set at p < 0.05.

Result: The response rate was 71.05% and the prevalence of WMSDs was 58.64%. The top three musculoskeletal symptoms were lower back (52.46%), neck (24.07%) and knee (23.45%) respectively. There was significant association (p < 0.05) between WMSDs and underlying disease (OR = 4.672, 95%CI = 1.690 - 12.915), carrying heavy objects (OR = 2.538, 95%CI =1.296 - 4.973), family-related stress (OR = 3.248, 95%CI =1.242 - 8.491), stress at work (OR = 3.082, 95%CI = 1.304 - 7.284) and health-related stress (OR = 2.021, 95%CI = 0.922 - 4.433). However, there were no association between environmental factors and WMSDs

Discussion and Conclusion: Prevalence of WMSDs was 58.64% and associated with underlying disease, carrying heavy objects, family-related stress, stress at work and health-related stress in fruit transport workers in Pathum Thani province.


บทนำ: ความผิดปรกติของทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (WMSDs) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในคนทำงาน ซึ่งทำให้ต้องเสียเงินในการรักษาพยาบาล การชดเชยค่าเสียหายจากการบาดเจ็บจากการทำงาน รวมถึงส่งผลให้ความสามารถในการทำงานลดลง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขนผลไม้ จังหวัดปทุมธานี

วิธีการศึกษา: สอบถามพนักงานขนผลไม้ จำนวน ๒๒๘ คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Chi-squared test วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ WMSDs ซึ่งนำสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio (OR) และ 95%CI โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

ผลการศึกษา: อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ ๗๑.๐๕ และพบความชุกของ WMSDs ร้อยละ ๕๘.๖๔ โดยบริเวณที่มีรายงานอาการ WMSDs ๓ อันดับแรกคือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ ๕๒.๔๖) คอ (ร้อยละ ๒๔.๐๗) และเข่า (ร้อยละ ๒๓.๔๕) และพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิด WMSDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) คือ โรคประจำตัว (OR = ๔.๖๗๒, 95%CI = ๑.๖๙๐ - ๑๒.๙๑๕) ถือของหรืออุปกรณ์หนักขณะทำงาน (OR = ๒.๕๓๘, 95%CI = ๑.๒๙๖ - ๔.๙๗๓) ความเครียดเรื่องครอบครัว (OR = ๓.๒๔๘, 95%CI = ๑.๒๔๒ - ๘.๔๙๑) และความเครียดในการทำงาน (OR = ๓.๐๘๒, 95%CI = ๑.๓๐๔ - ๗.๒๘๔) ความเครียดเรื่องปัญหาสุขภาพ (OR = ๒.๐๒๑, 95%CI = ๐.๙๒๒ - ๔.๔๓๓) นอกจากนี้พบว่าปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับการรายงานอาการ WMSDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: พนักงานขนผลไม้ จังหวัดปทุมธานี มีความชุกในการเกิด WMSDs เท่ากับร้อยละ ๕๘.๖๔ และพบว่าการเกิด WMSDs มีความสัมพันธ์กับการมีโรคประจำตัว การถือของอุปกรณ์ที่หนัก การมีความเครียดในเรื่องของครอบครัวการทำงาน และปัญหาสุขภาพของตนเอง

Downloads

Published

2017-03-28

Issue

Section

Original Articles