ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทีย,Factors Related to Health Behaviors of the Osteoarthritis Patients Post Operation of Total Knee Arthroplasty

Main Article Content

ไพรัช ยิ้มเนียม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 คน ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยสถิติ ไคสแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย

พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและระดับการรับรู้อยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 45.9 และร้อยละ 38.8 ตามลำดับ) มีระดับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 41.2 และ ร้อยละ 38.8 ตามลำดับ) โดยปัจจัยด้านชีวสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แต่ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจัยการรับรู้ของผู้ป่วย ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจัยการรับรู้รวมถึงการส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคม โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นหายจากความเจ็บป่วยและปราศจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมได้



Factors Related to Health Behaviors of the Osteoarthritis Patients Post Operation of Total Knee Arthroplasty

Pairach yimneum*

Abstract

This descriptive study aimed at investigating factors related to health behaviors of osteoarthritis patients post operation of total knee arthroplasty. Purposive sampling was used to collect a sample composed of 85 persons. A Self-administered questionnaire was utilized for collecting data. The data were  analyzed using percentage, mean, standard deviation, chi-square and Pearson’s Product Moment Correlation. The findings indicated that the majority of the sample had overall  health behavior post operation of total knee arthroplasty and overall health perception at the medium level (45.9 % and 38.8% respectively), the levels of knowledge and social support at the high level (41.2 % and 38.8% respectively). Biosocial factors showed no significant correlation with the health behaviors of the sample. However, knowledge of health, perception, and social support were significant positively correlated with the health behaviors (p < 0.05). In conclusion, the promotion of knowledge of health, health perception, and social support provided by their families post operation were associated with health behaviors of the patients. The findings of this study may be used to enable patients to recover from sickness with less complications following total knee arthroplasty.

 

* Registered nurse Orthopedic ward Rajavithi Hospital. Master of Science (Health Education) Major Field: Health Education, Department of Physical Education: Kasetsart University

Article Details

How to Cite
1.
ยิ้มเนียม ไ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทีย,Factors Related to Health Behaviors of the Osteoarthritis Patients Post Operation of Total Knee Arthroplasty. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Sep. 17 [cited 2024 Apr. 23];23(2):20-31. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11888
Section
บทความวิจัย