การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง

Main Article Content

ธนิตา ฉิมวงษ์
จิราพร นิลสุ
นภาพร วาณิชย์กุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะที่ 1 ของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะผู้ป่วย เบาหวานที่มารับบริการรักษาพยาบาล ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง และศึกษาสถานการณ์การจัด บริการรักษาพยาบาล ในคลินิกเบาหวาน โดยใช้กรอบแนวคิดการเพิ่มคุณภาพการดูแลด้วยหลักการของลีน ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2556 – 30 ธันวาคม 2556 ใช้วิธีการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลัง และสังเกตกระบวนการรักษาพยาบาลในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง ผ่านการตามรอยการดูแลผู้ป่วยที่ เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ด้วยเครื่องมือสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์กระบวนการดูแลตามกรอบแนว คิดลีน

ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยองส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 49.8 มาทำการรักษาต่อเนื่องคือเป็นรายเก่าร้อยละ 82.5 ส่วนใหญ่มีปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดคือ มีค่า HbA1C > 7% ร้อยละ 53.9 และมีโรคร่วมร้อยละ 69.94 ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดบริการในคลินิก เบาหวาน โรงพยาบาลระยอง พบว่าคุณค่าสำคัญในงานถูกใช้เวลาน้อย คือ การมีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีให้ บริการในคลินิก ที่สามารถประเมินและช่วยจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มีความซับซ้อน ส่วนกิจกรรมที่เป็นความ สูญเปล่า พบความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการที่ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลามาก ได้แก่ ความสูญเปล่าเนื่องมาจากการทำงาน ซ้ำซ้อน การเคลื่อนย้ายงานที่ไม่จำเป็น การแก้ไขข้อผิดพลาด การรอคอย การทำงานไม่ทัน การเก็บงานไว้ทำและ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งผลการศึกษาลักษณะผู้ป่วยและการวิเคราะห์สถานการณ์เหล่านี้ ทำให้เห็นความจำเป็นและมีข้อมูลพื้นฐานที่ต้องจัดการคุณภาพของระบบบริการให้เหมาะสมและมีคุณค่า และ ด้วยกรอบแนวคิดลีนผู้วิจัยสามารถพัฒนารูปแบบบริการให้มีความกระชับ ทรงคุณค่า และเหมาะสมกับบริบทของ องค์กรได้

 

Applying the LEAN Concept for Quality Improvement in the Diabetic Clinic of Rayong Hospital

Tanita Chimwong*

Jiraporn Nilsu**

Napaporn Wanitkun***

Abstract

This article is the first phase of the developmental research study aiming at identifying characteristics of diabetes mellitus (DM) patients in the Diabetic clinic at Rayong Hospital and evaluating service process and situations of DM clinic based on the LEAN quality improvement approach. Data collection was conducted from 1 September to 30 December of 2013 by reviewing retrospective medical records and non-participatory observation of the services. The LEAN concept was applied as an observation tool for tracking care and services provided to the sample. Validity of the instrument was approved by 3 clinical experts. Simple random sampling was used to recruit 31 patients. Descriptive statistics were used to analyze quantitative data and the LEAN concept was used for situational data analysis.

The findings revealed that most of the patients attending the DM clinic were elderly (49.8%), follow up patients (82.5%), unable to control their blood sugar levels by HbA1C value above 7 (53.9%), and having co-morbidities and complications (69.94%). Situational analysis found that not much time was spent on crucial work through nursing case managers who could assess and solve complicated problems. There were 7 time wasting activities including repetitive tasks, unnecessary moving, fixing errors, waiting, not finishing work on time, piling up of work, and unnecessary movement of personnel. The findings about patient characteristics and situation analysis provide a necessary database to improve the service quality of the DM clinic at Rayong Hospital. The LEAN concept can be applied to improve nursing services appropriate to the context of the organization.

* Registered Nurse (Senior Professional level), Rayong Hospital

** Registered Nurse (Professional level), Rayong Hospital

*** Assistant Professor Dr., Faculty of Nursing, Mahidol University

Article Details

How to Cite
1.
ฉิมวงษ์ ธ, นิลสุ จ, วาณิชย์กุล น. การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 26];24(1):121-35. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18336
Section
บทความวิจัย