ผลของการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณต่อความทนทาน ในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบาก และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ในการควบคุมอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง*

Main Article Content

ทัศนีย์ ภูวิภิรมย์
จิราภรณ์ ฉลานุวัฒน์
ละเอียด จารุสมบัติ

Abstract

ผลของการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณต่อความทนทาน

ในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบาก และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง

ในการควบคุมอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง*

ทัศนีย์ ภูวิภิรมย์**

จิราภรณ์ ฉลานุวัฒน์ ***

ละเอียด จารุสมบัติ***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณ ต่อความ ทนทานในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบากและการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจ ลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 40 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณ ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณ แบบประเมินความทนทานในการออกกำลังกาย แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และแบบสอบถามการรับรู้ สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าคะแนนอาการหายใจลำบาก ความทนทานในการออกกำลังกาย และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังการ ทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบที่ ผลการศึกษาพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยของอาการหายใจลำบากหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีค่าลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบากหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

2. ค่าเฉลี่ยของความทนทานในการออกกำลังกาย หลังการทดลองของกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่ม ควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และในกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความทนทานในการ ออกกำลังกาย หลังการได้รับการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

  • สรุปและข้อเสนอแนะ การออกกำลังกายแบบพลังลมปราณ สามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง ช่วยลดอาการหายใจลำบาก ทำให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้น และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยในระยะยาวต่อไป

คำสำคัญ : การออกกำลังกายแบบพลังลมปราณ ความทนทานในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบาก การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

* ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากโรงพยาบาลพุทธโสธร

** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพุทธโสธร

*** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

 

Effects of a Pulmonary Rehabilitation Program with Palunglompran on Exercise Tolerance, Dyspnea, and Self-efficacy to Control Dyspnea in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease*

Tasanee Phuvipirome*

Chiraporn Chalanuwat**

La-iad Jarusombat***

Abstract

This study was a quasi-experimental research, aiming to evaluate the effects of a pulmonary rehabilitation program with Palunglompran on exercise tolerance, Dyspnea, and self-efficacy to control dyspnea in patients with chronic obstructive pulmonary disease. The sample consisted of forty patients with chronic obstructive pulmonary disease in outpatients COPD clinic of BuddhaSothorn hospital, Chachoengsao province. The eligible patients were selected based on the inclusion criteria and were assigned to two groups of equal numbers as the experimental and the control group. The experimental group received the pulmonary rehabilitation program with Palunglompran from the investigator, whereas the control group received the usual care from health care staff. The research instruments comprised a pulmonary rehabilitation program and a handbook of Palunglompran for patients with chronic obstructive pulmonary disease. The instruments for data collection included a demographic questionnaire, exercise tolerance test, Dyspnea Visual Analogue Scale (DVAS), Self-efficacy to Control Dyspnea test and COPD Assessment Test (CAT).The data were analyzed using frequency, mean, standard deviation, Independent t-test and Paired t-test.

The results revealed that;

1. The mean score of dyspnea in the experimental group was significantly lower than that in the control group (p<0.05), whereas the mean score of self-efficacy to control dyspnea in the experimental group was significantly higher than that in the control group (p<0.05).

2. The mean scores of exercise tolerance were not significantly different both between the control and experimental groups, and between before and after intervention in the experimental group.

The pulmonary rehabilitation program with Palunglompran needs to be applied to COPD patients in outpatient departments to decrease dyspnea and increase self-efficacy to control dyspnea.

Keywords : Pulmonary rehabilitation program with Palunglompran Exercise tolerance Dyspnea Self-efficacy to control dyspnea Patients with COPD

* This research received funding from BuddhaSothorn Hospital.

** Registered Nurse (Senior professional Level) Department of nursing, BuddhaSothorn Hospital

*** Registered Nurse, BuddhaSothorn Hospital

Article Details

How to Cite
1.
ภูวิภิรมย์ ท, ฉลานุวัฒน์ จ, จารุสมบัติ ล. ผลของการออกกำลังกายแบบพลังลมปราณต่อความทนทาน ในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบาก และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ในการควบคุมอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง*. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 20];24(1):149-61. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18338
Section
บทความวิจัย