ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวช,Selected Factors related to Depression in Gynecologic Elderly Patients

Main Article Content

อวยพร ภัทรภักดีกุล
พรรณี วิระบรรณ

Abstract

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวช

อวยพร ภัทรภักดีกุล*

พรรณี วิระบรรณ**

 บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวชและ

ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวชกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุทาง

นรีเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จำนวน 129 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะ

เจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล และ

แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเรื่องภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวช ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวัด

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตรวัดนามบัญญัติ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ

0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์

สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบว่าระดับความซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวชโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ร้อยละ 89.9 และระดับรุนแรงร้อยละ 10.1 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์

ทางลบกับความซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวชอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (r=-0.29, p = .01) ส่วน

ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ดังนั้นข้อเสนอแนะจากผล

การวิจัยคือ พยาบาลควรให้คำแนะนำผู้ป่วย ญาติหรือครอบครัว มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเพิ่ม

ขึ้น เช่นการไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางศาสนา การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามสถานท่ตี ่างๆ การเข้าร่วม

กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยสูงอายุ

คำสำคัญ : ปัจจัยคัดสรร ภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยสูงอายุ

* พยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

**พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

Selected Factors related to Depression in Gynecologic Elderly Patients

 Uaiporn Pattrapakdikul*

Pannee Wiraban**

 Abstract

The objectives of this descriptive study were to assess the depression of gynecologic elderly

patients and to examine the factors related to depression. The samples consisted of 129 gynecologic

elderly patients selected by using the purposive sampling technique. Two structured interview forms

of geriatric gynecological patients’ depression were developed from the Thai Geriatric Depression Scale with a reliability of 0.91. Percentage, mean, standard deviation, and spearman’s correlation coefficient were used to analyze the data.

Results of this study showed that 89.9% of gynecologic elderly patients had moderate depression and 10.1% of them had a high level of depression. The social cooperative activities were negatively correlated with depression among the gynecologic elderly patients (r = -0.29, p< 0.01). The activity of daily living capability was not correlated with depression. The findings suggest that the nurses should encourage patients, relatives or families to take opportunities to join social activities such as religious activities, relaxation trips, or the elderly association’s activities, in order to prevent depression in elderly patients.

Keywords : Selected factors, depression, elderly patients

* Reqistered Nurse, Nursing Service Division,Songklanagarind Hospital, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

** Registered Nurse, Gynecologic Ward, Songklanagarind Hospital, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

   

Article Details

How to Cite
1.
ภัทรภักดีกุล อ, วิระบรรณ พ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยสูงอายุทางนรีเวช,Selected Factors related to Depression in Gynecologic Elderly Patients. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Mar. 29];24(2):69-77. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30320
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อวยพร ภัทรภักดีกุล

พยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   

พรรณี วิระบรรณ

พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์