ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพแบบองค์รวม ของมารดาที่ได้รับการตรวจด้วย เครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็คทรอนิคในระยะที่ห,Factors Related to Holistic Health among Mothers undergone Electronic Fetal Monitoring during the First Stage of Labor

Main Article Content

ชลธิลา ราบุรี
โสมภัทร ศรไชย

Abstract

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพแบบองค์รวม ของมารดาที่ได้รับการตรวจด้วย เครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็คทรอนิคในระยะที่หนึ่งของการคลอด*

ชลธิลา ราบุรี **

โสมภัทร ศรไชย  ***

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับภาวะสุขภาพแบบองค์รวม ของมารดาที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็คทรอนิค ในระยะที่หนึ่งของการคลอด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 ทำการศึกษาในมารดาที่คลอด ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จ.นครนายก จำนวน 135 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า

    1.  ภาวะสุขภาพแบบองค์รวมของมารดาที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง EFM ในระยะที่หนึ่งของการคลอด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.66)

    2.  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพแบบองค์รวมของมารดา

               2.1    น้ำหนักของทารกแรกเกิด จำนวนครั้งของการคลอด และอายุของมารดา (ค่า r อยู่ระหว่าง .368 ถึง .221, p < .01) ภาวะแทรกซ้อนของมารดา และดัชนีมวลกาย (ค่า r อยู่ระหว่าง .185 ถึง .197, p < .05) มีความสัมพันธ์ กับ ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย

               2.2   อายุครรภ์ จำนวนครั้งของการคลอด และเสียงหัวใจทารกในครรภ์ (ค่า r อยู่ระหว่าง .241 ถึง .220, p < .01) อายุ การศึกษา และระยะเวลาในการตรวจ (ค่า r อยู่ระหว่าง .188 ถึง
.172, p < .05) มีความสัมพันธ์ กับ ภาวะสุขภาพด้านจิตใจ

               2.3   อายุและจำนวนครั้งของการคลอด มีความสัมพันธ์ กับภาวะสุขภาพด้านสังคม
(ค่า r อยู่ระหว่าง .335 ถึง .286, p < .01)

               2.4   ภาวะแทรกซ้อนของมารดา และ การรับทราบผลการตรวจจากเจ้าหน้าที่ (ค่า r อยู่ระหว่าง .235 ถึง .241, p < .01) รายได้ จำนวนครั้งของการคลอด และการศึกษา (ค่า r อยู่ระหว่าง
.181 ถึง .176, p < .05) มีความสัมพันธ์ กับ ภาวะสุขภาพด้านจิตวิญญาณ

 

คำสำคัญ: ภาวะสุขภาพแบบองค์รวม, เครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็คทรอนิค, ระยะที่หนึ่งของการคลอด, การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์

 * วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

Factors Related to Holistic Health among Mothers undergone

Electronic Fetal Monitoring during the First Stage of Labor*

Chontila Raburee**
Sommapat sornchai***

Abstract

The purpose of this descriptive research (correlational study) study was to investigate the relationship between various factors and holistic health in mothers who were undergone electronic fetal monitoring (EFM) during the first stage of labor. Data were collected by using a questionnaire to measure perceived health status of the 135 mothers at the HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Nakhon Nayok. The data were analyzed by descriptive statistics and spearman rank correlation coefficient. The results showed that:

            1.     Levels of holistic health by perceptions of the mothers who were undergone EFM in first stage of labor's was good ( = 3.66).

            2.    Relationships between exposures and health holistic of the mothers who were undergone EFM in first stage of labor showed that:

                   2.1     Physical health, including respiratory system, urinary system and labor pain, were related to fetal weight, number of births, maternal age (r values were between .368 to .222, p <.01), maternal complications and maternal body mass index (r values were between .182 to .221, p <.05).

                   2.2    Mental health, including fear and worry, and confidence, were correlated with gestational age, number of births and fetal heart sounds (r values were between .241 to .220, p <.01), maternal age, maternal education and duration of the test (r values were between .188 to .171, p <.05).

                   2.3    Social health, including interactions between nurse and mothers and social support, were associated with maternal age and number of births (r values were between .335 to .205, p <.01).

                   2.4     Spiritual health, including compromise and needs of individuals during the inspection, were correlated with maternal complications and acknowledgement of the test by health personal (r values were between .255 to .241, p <.01), income, number of births and maternal education (r values were between .181 to .176, p <.05).

 

Keyword: electronic fetal monitoring, holistic health, first stage of labor, correlational study

 

* Thesis, Master Degree of Nursing Science in Advanced Midwifery, Khon Kaen University.

** Registered Nurse. HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Srinakharinwirot University.

*** Assistant Professor Dr., Faculty of Nursing, Khon Kaen University.   

Article Details

How to Cite
1.
ราบุรี ช, ศรไชย โ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพแบบองค์รวม ของมารดาที่ได้รับการตรวจด้วย เครื่องตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อิเล็คทรอนิคในระยะที่ห,Factors Related to Holistic Health among Mothers undergone Electronic Fetal Monitoring during the First Stage of Labor. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Mar. 28];24(2):105-16. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30324
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ชลธิลา ราบุรี

วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น      

โสมภัทร ศรไชย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น