การพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของ อาสาสมัครกู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบล,Development of Knowledge and Skills of Emergency Medical Services among Volunteer Rescuers at Wungsang Subdistrict Administration Organization, Mahasarakham Province

Main Article Content

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
ศิวพล ศรีแก้ว

Abstract

การพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของ

อาสาสมัครกู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง อำเภอแกดำ

จังหวัดมหาสารคาม

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ *

ศิวพล ศรีแก้ว *

บทคัดย่อ

     อาสาสมัครกู้ชีพเป็นบุคลากรด่านหน้าที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บระดับพื้นฐาน และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและถูกวิธี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครกู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาประกอบด้วยตัวแทนอาสาสมัครกู้ชีพตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังแสงและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง รวมจำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แบบทดสอบความรู้ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัยพบว่า

     1. อาสาสมัครกู้ชีพขาดทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินและความชำนาญเพราะไม่ได้ฝึกอบรมทักษะอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นการเคลื่อนย้ายและการนำส่งผู้ป่วย

     2. รูปแบบการพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินสาหรับอาสาสมัครกู้ชีพ ควรเป็นการฝึกอบรมระยะสั้น อย่างน้อย 2 วัน โดยการเพิ่มพูนความรู้และการฝึกปฏิบัติ ครอบคลุม 4 ทักษะ คือ การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการนำส่งผู้ป่วย หลังการฝึกอบรมพบว่ากลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครกู้ชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการบริการ การแพทย์ฉุกเฉินสูงกว่า ( = 13.54 ) ก่อนการฝึกอบรม ( = 9.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และคะแนนประเมินทักษะหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

     3. การติดตามประเมินผลอาสาสมัครกู้ชีพหลังจากการฝึกอบรม พบว่าอาสาสมัครกูชีพเข้าใจกระบวนการให้บริการแก่ผู้ป่วย สามารถตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีความรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู้ใหกับอาสาสมัครกู้ชีพคนอื่นได้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะของอาสาสมัครกู้ชีพในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน

คำสำคัญ : ความรู้ ทักษะ การแพทย์ฉุกเฉิน อาสาสมัครกู้ชีพ

* อาจารย์พยาบาล, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม


Development of Knowledge and Skills of Emergency Medical Services among Volunteer Rescuers at Wungsang Subdistrict Administration Organization, Mahasarakham Province

Phadoongsit Chumnanborirak*

Siwapon Srikaew*

Abstract

     Volunteer rescuers are the primary responders who provide basic trauma life support, transport injured people, and take them to a hospital. The purpose of this study was to investigate the development of knowledge and skills of emergency medical services volunteer rescuers of the Wungsang Subdistrict Administrative Organization. The samples were representative volunteer rescuers, the Director of Health Promoting Hospital, Chief Executive and of health promotion officers of Wungsang subdistrict Administrative Organization. The research instruments comprised practical skills assessment, a written test to assess knowledge, focus group discussions, in-depth interviews and observations. Data were analyzed using mean, standard deviation, and a t-test for dependent samples while content analysis was used to interpret qualitative data.

     The results of this study showed that:

     1. Volunteer rescuers lacked emergency medical skills and expertise in basic resuscitation, first aid, moving and transferring patients, mainly due to lack of regular training.

     2. Development of knowledge and skills for the volunteer rescuers should include training with short courses of at least 16 hours duration, with combined classroom learning and essential life-saving skills. The skills covered should include lifting and moving of patients, basic first aid, basic life support, and transportation. The knowledge scores for first aid post-test were significantly higher than that of the pretest.

     3. The essential skills score after training were significantly higher than before training. Furthermore, at the 8th week after training, the volunteer rescuers developed basic knowledge, planning skills, decision making and rapid response to emergency medical situations and traumatic injuries. They have also spread their knowledge with other volunteer rescue teams around them.

This program could be used as a guideline for volunteer rescuers to enhance knowledge and essential skills of emergency medical services. However, the need for future research is suggested.

 Keywords : Knowledge, Skills, Emergency Medicine Services, Volunteer rescuers

*Nurse Instructor, Srimahasarakram Nursing College

   

Article Details

How to Cite
1.
ชำนาญบริรักษ์ ผ, ศรีแก้ว ศ. การพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของ อาสาสมัครกู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบล,Development of Knowledge and Skills of Emergency Medical Services among Volunteer Rescuers at Wungsang Subdistrict Administration Organization, Mahasarakham Province. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 19];24(3):132-4. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30378
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์

อาจารย์พยาบาล, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม   

ศิวพล ศรีแก้ว