ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม,Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process

Main Article Content

นงนุช เสือพูมี
กุลฤดี จิตตยานันต์
วันดี วงศ์รัตนรักษ์
วัลทณี นาคศรีสังข์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พื้นที่ดำเนินการวิจัย เป็นตำบลที่มีอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกเป็นอันดับหนึ่งในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผู้เข้าร่วมการวิจัย ประกอบด้วย สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ครูอนามัยโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 คน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1) การศึกษาชุมชนและการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) การกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3) การระบุความจำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4) การวิเคราะห์สาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในครัวเรือนและชุมชน 5) การวางแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับครัวเรือนและชุมชน 6) การดำเนินงานตามแผนงาน 7) การติดตามและประเมินผลก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ 60 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำรวจ และสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวเต็มวัย แบบสังเกตสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired t-test
          ผลการวิจัย พบว่า หลังดำเนินการผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความรู้ อยู่ในระดับสูง และปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่า Breteau index, Container index, Landing rate และ Biting rate หลังการดำเนินงานต่ำกว่าก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนี้พบว่า หลังดำเนินการผู้เข้าร่วมการวิจัยมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบครัวเรือนและชุมชนดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนการดำเนินงาน แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน และเหมาะสมกับบริบทชุมชนอย่างแท้จริง

 

Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process

Nongnuch Suapumee*, Kuleudee Chittayanunt*
Wandee Wongrattanarak* , Wantanee Naksrisang*

Abstract

          This Action Research aimed to examine the effectiveness of the dengue hemorrhagic fever prevention and control program in community using a participatory learning process. The study site was a sub-district that had the highest incidence of dengue hemorrhagic fever in Banpong, Ratchaburi province. The participants were 100 stakeholders, including members of local government, school nurses, district health volunteers, health personnel, and householders. The participatory learning process including 7 steps was employed as follows; 1) exploring the community and identifying stakeholders, 2) setting a vision of dengue hemorrhagic fever prevention and control, 3) identifying the needs of dengue hemorrhagic fever prevention and control, 4) analyzing the causes of dengue hemorrhagic fever in households and communities, 5) planning for dengue hemorrhagic fever prevention and control, 6) implementing as planned, and 7) monitoring and evaluating 60 days after implementation. Data were collected through interview, survey, and observation. The instrument used was composed of a knowledge questionnaire about dengue hemorrhagic fever prevention and control, a survey of mosquito larvae, and an environmental observation form. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Paired t-test.
          The results found that after implementing the dengue hemorrhagic fever prevention and control program in community, the participants reported a higher level of knowledge, a better behavior in dengue hemorrhagic fever prevention and control than those before the implementation. Breteau index, Container index, Landing rate, and Biting rate after implementing the program were significantly lower than before the implementation. In addition, the participants improved the environment surrounding their houses and community after participating in the program.
The study suggests that the dengue hemorrhagic fever prevention and control program in community using a participatory learning process is effective and appropriate in the Thai community context.


*Nurse instructor, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj

Article Details

How to Cite
1.
เสือพูมี น, จิตตยานันต์ ก, วงศ์รัตนรักษ์ ว, นาคศรีสังข์ ว. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม,Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Jul. 10 [cited 2024 Mar. 29];25(1):25-39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/36154
Section
บทความวิจัย
Author Biography

กุลฤดี จิตตยานันต์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช