การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ,The Development of Palliative Care Model for Terminal Cancer Patients at Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital

Main Article Content

วาสนา สวัสดีนฤนาท
อมรพันธุ์ ธานีรัตน์
ธารทิพย์ วิเศษธาร

Abstract

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วาสนา สวัสดีนฤนาท*

อมรพันธุ์ ธานีรัตน์**

ธารทิพย์ วิเศษธาร***

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายขององค์การอนามัยโลกร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและ/หรือผู้ดูแลหลัก 35 คน และทีมผู้ให้บริการคือพยาบาล 145 คน และทีมสหสาขาวิชาชีพ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) เครื่องมือดำเนินการพัฒนารูปแบบ และ2)เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์วิธีเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1. หลักการของรูปแบบการดูแล 2.โครงสร้างด้านรูปแบบการดูแล 3.กระบวนการดูแล และ 4.การติดตามและประเมินผลลัพธ์ 

           ผลการนำรูปแบบไปใช้พบว่าพยาบาลมีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=2.47;SD=0.51) ระยะจำหน่ายผู้ป่วยมีความปวดลดลงร้อยละ 71.4 อาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงร้อยละ 60 ความไม่สบายใจกังวลใจหรือกลัวลดลงร้อยละ 88.57 ผู้ป่วยและ/หรือผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคองโดยรวมในระดับมาก (M=4.24;SD=.62) สรุปว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองช่วยสนับสนุนให้ทีมสามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมมากขึ้นเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งด้านผู้ให้บริการ  ผู้ป่วยและผู้ดูแล ดังนั้นควรนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้กับผู้ป่วยเรื้อรังระยะท้ายกลุ่มอื่นๆต่อไป

 คำสำคัญ : มะเร็งระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง

 

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาล

**พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN)

***พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

 

The Development of Palliative Care Model for Terminal Cancer Patients   at Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital

Vasana  Sawasdeenarunat, MSà

Amornpan Taneerat MNS,APNàà

Tarntip Wisettharn, MNS, APNààà

 Abstract

          The purpose of this study was to develop and describe the effect of palliative care model for patients with terminal cancer inMaharajNakhonSiThammaratHospital. World Health Organization and research and development model were used as conceptual and methodological framework. Sample were purposively selected, including 35 hospitalized patients with terminal cancer or primary caregivers of patients with terminal cancer , 145 nurses and 24 multidisciplinary providers. Tools used in this study were tools for research implementation and tools for evaluating the outcome of model implementation. These tools were validated by 5 experts working in palliative care and tested for reliability, using cronbrach’s alpha coefficient. The study was conducted from October 2013 to October 2014 Descriptive statistics were used to analyzed quantitative data whereas content analysis was applied for qualitative data. The results of this study revealed that Palliative care model that fit toMaharajNakhonSiThammarajHospitalhas 4 components :1) Concept of care model 2)Structure of care model 3) Process of care model and 4) Follow and evaluate outcome. After implementing the palliative care model, it was found that nurses reported they provided palliative care of terminal cancer patient informants reported that their pain were relieved from severe (M=8.40;SD=1.78) to moderate (M=5.51;SD=1.46) ;relief nausea and vomiting 60% and their distressful symptoms were relieved high level while 88.57 % Patients and their caregivers’ satisfaction toward palliative care services were at high level. In conclusion the developed palliative care model is useful for supporting  patients with terminal cancer and their families. Therefore, this new developed caring model should be introduced to care for terminal patients in other groups.

 

Keyword : terminal cancer; palliative care

* Registered Nurse, Senior Professional Level ; Head Nurse

**Registered Nurse, Advance Practice Nurse

*** Registered Nurse, Senior Professional Level

 

 

 

 

 

Article Details

How to Cite
1.
สวัสดีนฤนาท ว, ธานีรัตน์ อ, วิเศษธาร ธ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ,The Development of Palliative Care Model for Terminal Cancer Patients at Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Jul. 10 [cited 2024 Mar. 29];25(1):144-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/36245
Section
บทความวิจัย