การสร้างสุข โดยการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กุนตี โตโพธิ์ไทย

Abstract

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน ในงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม และศึกษาประสิทธิผลของโครงการสร้างสุข ตามแนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาแนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโครงการสร้างสุข ตามแนวทางการบูรราการงานสุขภาพจิต และระยะที่ 3 เป็นการติดตามประเมินโครงการสร้างสุข ตามแนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชนที่พัฒนาขึ้น ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 150 คน กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 เป็น นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และ อาสาสมัครผู้สูงอายุ จำนวน 2,012 คน และกลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 เป็นประชาชนกลุ่มเป้าหมายของโครงการสร้างสุข จังหวัดนครปฐม จำนวน 3,809 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการตอบแบบประเมินดัชนีวัดความสุขของคนไทย ที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนความสุขก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการโดยใช้ Wilcoxon sign rank test

          ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน ในการสร้างสุขในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ด้านการบริหาร และด้านการบริการ ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงการสร้างสุข ได้กิจกรรมสร้างสุข ในรูปแบบตำบลสร้างสุข จำนวน 10 ตำบล และ อำเภอสร้างสุข จำนวน 5 อำเภอ ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย ได้แก่ เด็กและเยาวชน วัยทำงาน และวัยสูงอายุ ระยะที่ 3 การติดตามประเมินโครงการสร้างสุข พบว่า โครงการสร้างสุขได้ดำเนินการตามแผน ร้อยละ 100 ความสุขของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.27 ความสุขหลังเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.34 และคะแนนความสุขของกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = 39.92) ผลการวิจัยสนับสนุนแนวทางการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน ในการสร้างสุขในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการสร้างเสริมสุขภาพจิต

คำสำคัญ : โครงการสร้างสุข การบูรณาการ สุขภาพจิตชุมชน

*นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

 

Enrichment of Happiness by Integrating Community Mental Health

in Nakhon Pathom Province

            Kuntee Topothai*

Abstract

         This research and development study aimed at developing a guideline for integrating community mental health into public health work, and to examine the effectiveness of Happiness Enrichment Project based on the guideline. The study was divided into 3 phases as follow: Phase 1: the development of a guideline for integrating mental health community into public health work; Phase 2 the development of a happiness enhancement project based on the guideline; and phase 3 the evaluation of the happiness project. The sample was purposively selected, including 150 health personnel in Nakhon Pathom province in the first phase, 2012 health personnel and health volunteers in the second phase, and 3809 persons who were target population of the happiness enrichment project in the third phase. Data were collected by focus groups, observations, and completed the happiness scale for Thai people developed by the Department of Mental Health, Thailand. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, Wilcoxon sign rank test.

             The results were as follow: the guideline for integrating mental health community into public health work was developed in the first phase, composing of management and service aspects. The happiness enrichment project based on the guideline was developed in the form of happiness district in 5 districts and in the form of happiness sub-district in 10 sub-districts covered all aged groups of the target  population in the second phase.  In the third phase, the results revealed that the happiness enrichment project was implemented as planned. Happiness scale of all target population before implementing the project was in a normal level, with a mean score of 30.27. Happiness scale of all target population after implementing the project was in a good level, with a mean score of 35.34. The comparison of happiness score between before and after implementing the project was significantly different (Z = 39.92,                              p = .000). The study supported that integrating community mental health into public health work is an effective measure to promote happiness in community. The participation of community network is   strengthening mental health promotion of the community.

Keywords : Happiness enrichment project, Integrating, Community mental health

*Public Health Officer, Senior Professional Level, Nakhon Pathom Provincial Health Office

 

 

Article Details

How to Cite
1.
โตโพธิ์ไทย ก. การสร้างสุข โดยการบูรณาการงานสุขภาพจิตชุมชน จังหวัดนครปฐม. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Aug. 31 [cited 2024 Mar. 28];25(2):166-77. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39527
Section
บทความวิจัย