การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง รพ.สต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

Main Article Content

ผ่องศรี พูลทรัพย์
รัชนี ครองระวะ
ภิรมย์ ลี้สุวรรณ
บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง ในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเป็นโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก รูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบ การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test และสถิติสหสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เพียร์สัน และ ส่วนที่ 2  กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะสร้างความตระหนักและความร่วมมือ 2)  การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำงานของ อสม. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแนวคำถามในการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา  ส่วนที่ 1 พบว่า  หลังการศึกษา อสม. มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง รับรู้ความรุนแรงรับรู้ประโยชน์ และมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 การรับรู้โอกาสเสี่ยง รับรู้ความรุนแรง และรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออก  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   ส่วนที่ 2 พบว่า กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของ อสม. ได้แก่ จัดอบรมฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง สื่อช่วยสอนวิธีต่าง ๆ และ การสร้างความตระหนักของครอบครัว ว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นหน้าที่ของทุกคน  ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรม ของ อสม. ในการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง ได้แก่ ทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์โรคไข้เลือดออก  การทำงานที่สอดคล้องกัน  ของทีมสุขภาพ  และ ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

 

DHF Preventive Behavior Development of Village Health Volunteers by Authentic Work Participatory at Thapa District Health Promotion Hospital,Ban pong district, Ratchaburi Province

Abstract

         The purpose of this study was to develop DHF preventive behaviors of village health volunteers (VHVs). The DHF preventive behaviors focused on perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and DHF preventive behaviors. This study used research and development (R&D) design. It was divided into two parts. Part 1 aimed at examining the relationships between perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and DHF preventive behaviors of 138 VHVs using a self-administered questionnaire for both the pre- and post-test. Descriptive statistics, including percentages, means, SD, t-test, and Pearson’s Product coefficient were used. Part 2 aimed at developing DHF preventive behaviors through participating in the daily work. It included three stages: promoting recognition and participation, developing DHF preventive behaviors and analyzing factors enhancing participatory authentic work of health volunteers.

         The results of this study were divided into two parts. Part 1 demonstrated that the scores of perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and perceived DHF preventive behaviors of all VHVs were at the good level (100%). In addition, the perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits were significantly associated with DHF preventive behaviors (p< 0.05). Part 2 showed the process of developing DHF preventive behaviors of the VHVs required three strategies: continuous learning process, resources or materials, and recognition of DHF preventive behavior as the responsibility of all family members. Additionally, significant factors encouraging the authentic work participatory of health volunteers were positive attitudes towards situations of DHF, and harmonious participation working of health care providers.

 

* Public Health Technical Officer at Thapa Disrict Health promoting Hospital

**Nursing instructor, Boromrajjonnani, Chakriraj, Ratchaburi, Thailand

 

Article Details

How to Cite
1.
พูลทรัพย์ ผ, ครองระวะ ร, ลี้สุวรรณ ภ, หิรัญเคราะห์ บ. การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง รพ.สต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Aug. 31 [cited 2024 Mar. 29];25(2):206-18. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39536
Section
บทความวิจัย