ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

เนติยา แจ่มทิม
สินีพร ยืนยง
ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุตำบลสนามชัยอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุจากตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุม จำนวน 30  ราย เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม  ถึง  เดือนมิถุนายน 2556  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามความรู้และกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 และ .85 ตามลำดับ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลเพื่อเพิ่มความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pairedt-testและ Independent t-test

      ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ มีระดับคะแนนความรู้และการปฏิบัติกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.001 ผู้วิจัยเสนอแนะให้นำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุไปออกแบบการสอนแก่นักศึกษาบุคลากรทางการพยาบาลและสาธารณสุขเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป

 

คำสำคัญการดูแลผู้สูงอายุ; ผู้สูงอายุ; ผู้ดูแล

*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ; อีเมล์ติดต่อ : netiya12@gmail.com

  

Effects of Preparation to Care for Elderly Program

at Sanamchai Subdistrict  Mung DISTRICT SUPHANBURI

PROVINCE.

Netiya  Jaemtim*

SineepornYuenyong*

                                                                                                                       Purinsrisodsaluk*

Abstract

      The purpose of this Quasi-experimental research was to study the effects of a preparation to care for the elderly program on capability improvement of the elderly caregivers at Sanamchai Subdistrict, Muang district, Suphanburi province. The participants consisted of 60 elderly caregivers living in that area. These participants were divided randomly into two groups: 30 people in the control group and 30 in the experimental group. Data collection was undertaken between March and June 2013. The  preparation to care for the elderly program was developed by the researcher team. Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation Paired t-test and Independent t-test were used for data analysis.

      The results revealed that the score of the intervention group after participation in the intervention program was significantly higher than the score of the control group (p<0.001).

      The findings from this study confirmed that the preparation program is beneficial to the elderly caregivers. Therefore, this program should be introduced to nursing students, nursing staff and public health officers to develop skills in caring for the elderly and encourage them to use this program for elderly in the future.

Key word  : caring for the elderly; elderly; caregiver.

*Baromrajchonnani College of Nursing Suphanburi ; e-mail : netiya12@gmail.com

Article Details

How to Cite
1.
แจ่มทิม เ, ยืนยง ส, ศรีศศลักษณ์ ป. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Apr. 20];25(3):108-19. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47265
Section
บทความวิจัย