ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอชวัน เอ็นวัน 2009 ของครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก ณ ศูนย์เด็กเล็ก ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี

Main Article Content

กิจติยา รัตนมณี
รวิวรรณ คำเงิน
ปภาสินี แซ่ติ๋ว

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอชวัน เอ็นวัน 2009 ของครูและผู้ดูแลเด็กเล็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก  ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 142 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอชวันเอ็นวัน 2009 ของครูและผู้ดูแลเด็ก ผลการศึกษาพบว่า ครูและผู้ดูแลเด็กเล็กมีระดับความรู้อยู่ในสูง(mean=12.13, SD=2.03) ด้านเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง (mean =33.55,SD=4.23) ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (mean=60.43, SD=4.10) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอชวัน เอ็นวัน 2009 พบว่าความรู้ ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัว แต่ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากผลการวิจัยดังกล่าวควรจัดให้มีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคให้แก่ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ: โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอชวันเอ็นวัน 2009, ครูและผู้ดูแลเด็ก

 

Abstract

The purpose of this study was to examine the level of knowledge, attitudes, and practices on preventing and controlling  pandemic influenza type A H1N1 2009 among child care providers in nurseries located in Surat Thani Province and to explore the relationship between knowledge, attitudes and practices to prevent and control against pandemic influenza type A H1N1 2009 of child care providers in nurseries located in Surat Thani Province. A total sample of 142 child care providers in nurseries were recruited using simple random sampling. The data were collected using a structured questionnaire, including general knowledge, attitudes and practices on prevention and control of pandemic influenza type A H1N1 2009 were created by the researcher. Descriptive statistics and correlation analyses were completed.

The   study found that child care providers  had relatively high  levels of knowledge (M = 12.13, SD = 2.03), the attitude at a moderate level (M = 33.55, SD = 4.23), the performance   at good level (M = 60.43, SD = 4.10). There was no significant relationship between knowledge and attitudes on prevention and control of pandemic influenza type A H1N1 2009. However, attitude was positively correlated with knowledge.

These findings suggested that the guidelines for the prevention of pandemic influenza type A H1N1 2009 should be used by child care providers in nurseries located in Surat Thani Province.

Keywords: Pandemic Influenza Type A H1N1 2009, teachers Child Care Providers.

 

Article Details

How to Cite
1.
รัตนมณี ก, คำเงิน ร, แซ่ติ๋ว ป. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอชวัน เอ็นวัน 2009 ของครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก ณ ศูนย์เด็กเล็ก ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Mar. 29];22(3):26-38. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4745
Section
บทความวิจัย