ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสระบุรี

Main Article Content

เมธิณี เกตวาธิมาตร
บังอร เผ่าน้อย
ประหยัด พึ่งทิม
พัชรี กิตติธาร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในหอผู้ป่วยอายุร กรรมชาย โรงพยาบาลสระบุรี ที่ได้พัฒนาโดยจุฬารัตน์ สุริยาทัย และคณะ และดำเนินการใช้แนวปฏิบัติกรอบแนวคิดการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้และการประเมินผลลัพธ์ ของสภาวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ ประชากรกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) ทีมผู้ดูแลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 และ 2 ซึ่งใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกจำนวน 30 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มาเข้าการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 และ 2 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นช่วงก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติจำนวน 42 คนและขณะที่มีการใช้แนวปฏิบัติจำนวน 38 คน ประเมินผลลัพธ์จากจำนวนครั้งของการมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกและความพึงพอใจของทีมผู้ดูแลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า จำนวนครั้งของการกลับมานอนรักษาที่โรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ลดลงพบว่าร้อยละ 21.43 กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติ มีการกลับมานอนรักษาที่โรงพยาบาลซ้ำจำนวน 9 ราย จำนวนครั้งในการกลับมานอนรักษาที่โรงพยาบาลซ้ำทั้งหมด 19 ครั้ง  โดยมีความถี่ของการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำอยู่ระหว่าง 1 - 6 ครั้งต่อคน (x̄ =  2.11, SD = 1.01) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่รับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติมีจำนวนทั้งสิ้น 38 ราย มีผู้ป่วยกลับมานอนรักษาที่โรงพยาบาลซ้ำจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.16  พบว่ามีความถี่รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยมีความถี่อยู่ระหว่าง 1 - 2 ครั้ง (x̄ = 1.04, SD = 0.19 ) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.7  ความพึงพอใจโดยรวมของทีมผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 69

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จึงควรมีการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างแพร่หลายต่อไป

คำสำคัญ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, แนวปฏิบัติทางคลินิก, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

 

Abstract

This operational research examined the effectiveness of the Clinical Practice Guideline for pulmonary rehabilitation in patients with COPD  receiving health services in Saraburi Hospital. The Clinical Practice Guideline were developed by Jurarat Suriyathai, et al. The process of implementing the guidelines was based on the framework proposes by The National Health and Medical Research Council. The sample was divided into two groups. One group comprised 30 health care providers from the Male Internal Medicine Departments 1 and 2. The second group comprised 80 patients with COPD. There were42 persons before and 38 persons after implementing the guideline. Data were analyzed by descriptive statistics.

The results are summarized below.

The ratio of the sample who had been given  the guidelines who were readmitted to hospital within 28 days decreased 21.43% compared wuth  patients without having had the guideline applied had admissions to hospital over 9 times more and readmitted over 19 times more. The frequency of returns hospital were between 1 - 6 times per person (x̄ = 2.11. , SD = 1.01). For 38 of the samples with the guideline, 5 of them (13.16%) were admitted to hospital and readmitted 8 times. (between 1 - 2 times) (x̄ = 1.04, SD = 0.19) The overall satisfaction of the samples with the guideline was at high at78.7%. The overall satisfaction of the health care providers were satisfied at using the Clinical Practice Guidelines are also high with69% expressing satisfaction.

The results in this study indicate that the Clinical Practice Guidelines are both feasible and effective in reducing hospital asdmission rates. Thus, it should continue to be implemented in patients with COPD.

Key words: Clinical Practice Guidelines (CPGs), Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD), Pulmonary Rehabilitation

 

 

Article Details

How to Cite
1.
เกตวาธิมาตร เ, เผ่าน้อย บ, พึ่งทิม ป, กิตติธาร พ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสระบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Apr. 25];22(2):49-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4790
Section
บทความวิจัย