สมรรถนะการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์
ทิพพาพรรณ เดียวประเสริฐ
วิสาลินี นุกันยา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ประจำของคณะต่างๆ 74 คน และนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี จาก 9 คณะ จำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการพัฒนาจากเครื่องมือในการวิจัยของดาราพร คงจา และคณะ และจุไรรัตน์ วัชรอาสน์ และคณะ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1.  สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2.  สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของนักศึกษาอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินการและด้านการประเมินผล

3.  เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านการดำเนินการสอน ด้านการประเมินผล และค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนนสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.  อาจารย์ที่มีอายุต่างกัน มีสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามการรับรู้ของอาจารย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.  อาจารย์ที่ได้รับการพัฒนาด้านการเรียนการสอนต่างกัน มีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, อาจารย์, นักศึกษา

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to determine the effectiveness of a student-centered teaching-learning strategy as perceived by the faculties and students at Bangkokthonburi University. The researchers classified the effectiveness of student-centered learning into three dimensions: 1) teaching preparation, 2) teaching process, and 3) evaluation. The subjects comprised 74 faculties, and 374 students from 9 faculties of the Bangkokthonburi University. The research tool was a questionnaire which was developed by Kongja, et al. (2002) and Wachara-asana, et al. (2004). This questionnaire was selected because it has demonstrated good reliability at 0.88 and 0.94, respectively. The data was analyzed using the  Statistical Package for Social Sciences (SPSS) software. The conclusions from the study are summarized below.

1. The effectiveness of the student-centered teaching strategy as perceived by the faculties overall was  the highest level, but in the dimension of teaching preparation it was lower than the others.

2. The effectiveness of a student-centered teaching strategy perceived by the students was, overall,  rated in the high level with the highest being the dimensions of preparation, curriculum analysis, and learning objectives.

3. The differences between the means of the effectiveness of student-centered teaching perceived by faculties and students was significant at .01.

4. The differences between the ages of the faculties as perceived by faculties themselves was significant at .05.

5. The differences between teaching-learning development of the faculties were not statistically significant.

Keywords: Student-Centered, Teaching-Learning Strategy

 

Article Details

How to Cite
1.
พงษ์ประภาพันธ์ เ, เดียวประเสริฐ ท, นุกันยา ว. สมรรถนะการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพมหานคร. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 10 [cited 2024 Apr. 23];21(2):29-38. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4868
Section
บทความวิจัย