ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการถูกกระทำรุนแรง ในสตรีตั้งครรภ์ : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ คงสาคร
วรรณี เดียวอิศเรศ
จินตนา วัชรสินธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสตรี ตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรงต่อการถูกกระทำรุนแรงภายหลังเข้าโปรแกรมฯ 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรงที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกจำนวน 41 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการดูแลตามปกติจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัด ความรุนแรงในชีวิตคู่ (ISA) มีค่าความเที่ยง ครอนบาค แอลฟ่า เท่ากับ .98  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

      ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจฯ มีการถูกกระทำรุนแรงไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1,39)= 0.54, p > .05) แต่เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ พบว่ากลุ่มทดลองถูกกระทำรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1.42, 55.44)= 0.54, p < .05) โดยมีความแตกต่างทั้งจากระยะที่สิ้นสุดโปรแกรม 4 สัปดาห์และระยะติดตามผล 8 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับระยะเริ่มแรก ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรงมีผลให้การถูกกระทำรุนแรงลดลงแต่ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจสตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรงในคลินิกฝากครรภ์ต่อไป       

คำสำคัญ : พลังอำนาจ; โปรแกรม; สตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรง

* โรงพยาบาลระยอง ; อีเมล์ติดต่อ: kingkarn63@hotmail.com

**คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

 

Effect of an Empowerment Intervention on Abused Pregnant Women

: A Randomized Controlled Trial

Kingkarn Kongsakorn *

Wannee Deoisres **

Chintana Wacharasin **

Abstract

      This randomized controlled trial was conducted to examine the effect of an empowerment  program on abused pregnant women at 4-week and 8-week follow-ups. Participants included 41 abused pregnant women who attended  antenatal care of a tertiary hospital in the eastern part of Thailand. Twenty five pregnant women were simple randomly assigned to receive  empowerment program and 16 women received standard care. The empowerment program was established and reviewed by 5 experts. Data were collected with ISA with a Cronbach’s alpha coefficient of 0.98  for reliability. Repeated ANOVA was used to analyze data.

      Results showed that the level of violence were not significantly different (F(1,39) = 0.54, p > 0.05) between the study and control groups of abused pregnant women. Remarkably, the measure in the intervention group decreased significantly from the baseline (F(1.42, 55.44)= 0.54, p< 0.05) to the 4-week and 8-week follow-ups. The empowerment program developed was effective for decreasing abuse during pregnancy. Hence, further study to improve the effectiveness of the empowerment intervention is needed.

 Keywords : Empowerment; Intervention;  Abused Pregnant  Women

*Rayong Hospital ; e-mail : kingkarn63@hotmail.com

**Faculty of Nursing, Burapha University, Chonburi.

Article Details

How to Cite
1.
คงสาคร ก, เดียวอิศเรศ ว, วัชรสินธุ์ จ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการถูกกระทำรุนแรง ในสตรีตั้งครรภ์ : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Apr. 25 [cited 2024 Apr. 19];26(1):27-39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57055
Section
บทความวิจัย