ความคิด ความรู้สึกของบิดามารดาชาวไทยอีสานและชาวลาวต่อการสูญเสียบุตรจากการเจ็บป่วยขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม*

Main Article Content

เนตรฤทัย ภูนากลม
วิสัย คะตา
สุนทร โพธิสาร

Abstract

บทคัดย่อ

      การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความคิด ความรู้สึกของบิดามารดาชาวไทยอีสานและชาวลาวที่สูญเสียบุตรจากการเจ็บป่วย ผู้ให้ข้อมูลคือบิดามารดาชาวไทยอิสานและชาวลาวที่สูญเสียบุตรจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  ทุกกรณี ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม จำนวน 12 และ 17 คน ตามลำดับ เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาสะท้อนประสบการณ์ความคิด ความรู้สึกต่อการสูญเสียบุตรตามระยะการรับรู้การสูญเสียเป็น 3 ระยะ ได้แก่  1) ระยะแรกสูญเสีย คือ งุนงง บ่เชื่อ 2) ระยะรับรู้การสูญเสีย คือ เศร้าใจแฮง และใจคอบ่ดี และ 3) ระยะปรับตัวต่อการสูญเสีย คือ เฮ็ดใจ๋ ข้อค้นพบนี้ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการพยาบาลเพื่อช่วยเหลือบิดามารดาชาวไทยอิสานและชาวลาวที่สูญเสียบุตรจากการเจ็บป่วย

 คำสำคัญ : ประสบการณ์; การสูญเสีย; การเจ็บป่วย; ชาวไทยอีสาน; ชาวลาว

* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ของบิดามารดาชาวไทยอีสานและชาวลาวต่อการสูญเสียบุตรจากการ

   เจ็บป่วยขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม

**วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม; อีเมล์ติดต่อ : nedruetai@npu.ac.th

***วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต

 

Thinking and Feeling of Northeast Thailand and Laos Parents to

Losing a Child to Illness while Admitted to the NakhonPhanom Hospital*

Nedruetai  Punaglom**

Wisai Kata***

Suntorn Pothisarn***

Abstract

      This qualitative study aimed to describe thinking and feeling of Northeast Thailand and Laos parents to losing a child due to illness while admitted to  Nakhon Phanom hospital. Study informants were 12 Northeast Thai and 17 Laos parents. Data were collected by in-depth interviews with non-participant observation and note taking. Data analyses were conducted by content analyses. This study reveals that the Northeast Thailand and Laos parents reflected their thinking and feeling of the loss of a child to illness in three phases. The initial phase consisted of confusion and disbelief. The recognition phase consisted of grief and anger. The adaptation phase consisted of self-understanding. The findings of this study can be used as a guideline for providing nursing interventions for the care of Thai and Lao parents mourning the loss of a child due to illness.

 Keywords : Experience; Loss; Illness; Thai people;  Lao people

*  This article is part of the research “Experience parents of Northeast Thailand and Laos to losing a child to illness while

    admitted to the hospital”

** Boromarajonnani College of Nursing, NakhonPhanom University; e-mail : nedruetai@npu.ac.th

***Director of the College of Health Sciences Savannakhet

Article Details

How to Cite
1.
ภูนากลม เ, คะตา ว, โพธิสาร ส. ความคิด ความรู้สึกของบิดามารดาชาวไทยอีสานและชาวลาวต่อการสูญเสียบุตรจากการเจ็บป่วยขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม*. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 25 [cited 2024 Apr. 25];26(1):79-92. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57330
Section
บทความวิจัย