ความตรงและความไวของเครื่องมือ Nociception Coma Scale ในการประเมินความปวดผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลง

Main Article Content

ใจรพร บัวทอง
สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ
สุภาวดี ศรสวัสดิ์
วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร

Abstract

บทคัดย่อ

     ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงมักมีระดับความรู้สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถบอกความปวดได้ จึงมักถูกละเลยและไม่ได้รับการบรรเทาความปวดที่ดี การประเมินความปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะใช้ Nociception Coma Scale (NCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลง แต่ยังไม่มีการนำมาทดสอบในประเทศไทย การศึกษานี้ เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความตรงและความไวของเครื่องมือประเมินความปวด NCS ในผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับ ความรู้สึกตัวลดลง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลง (Glasgow Coma Score: GCS <12) 18 คนที่ได้รับการประเมินความปวดก่อนและหลังการกระตุ้นความปวดโดยการกดโคนเล็บ ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความปวด คือ NCS และ Behavioral Pain Scale (BPS) ใช้เครื่องมือทั้งสองชนิดประเมินกลุ่มตัวอย่างคนละ 4-6 ครั้ง มีการสังเกตรวม 83 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย ทดสอบความตรงโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนความปวดที่วัดด้วย NCS และ BPS หลังการกระตุ้นความปวดด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนโรห์และวิเคราะห์ความไวของเครื่องมือ NCS โดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการกระตุ้นความปวด ด้วยการทดสอบอันดับของ  วิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานอายุ 53.50 ปี (IQR=22) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (n = 14)และนับถือศาสนาพุทธ (n = 15)เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ (n=7) ผู้ป่วยมากกว่าสองในสามไม่รู้สึกตัวคือมี GCS < 8 (n = 13) และใส่ท่อช่วยหายใจ (n = 16) มีค่ามัธยฐานวันนอนโรงพยาบาล 9.00 วัน (IQR=36) ผลการทดสอบความตรงและความไวของเครื่องมือ NCS พบว่ามีความตรงเหมือน (convergent validity) ระดับดีถึงดีมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน โรห์ (rs) ระหว่างคะแนนความปวดหลังการกระตุ้นความปวดที่ประเมินโดยใช้ NCS และ BPS = .453 (p< .001) และมีความไว คือ มีคะแนนความปวดเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการกระตุ้นและหลังการกระตุ้นให้เกิดความปวด (Z = -5.87, p < .001)

       สรุปและข้อเสนอแนะ เครื่องมือ NCS มีความตรงและความไวในระดับดีถึงดีมาก สามารถนำมาใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลงได้

 คำสำคัญ  : ความปวด; การประเมินความปวด; ผู้ป่วยระบบประสาท; ความรู้สึกตัวลดลง

* โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; อีเมล์ติดต่อ : gitbunyong@hotmail.com

**คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

 

Validity and Sensitivity of the Nociception Coma Scale Used for Pain Assessment of Neurological Patients with Altered Level of Consciousness

Jairaporn Bauthong*

Supornphan Kitbunyonglert*

Supawadee Sornsawat*

Wongchan Petpichetchian**

Abstract

         Patients with neurological disorders are usually unable to self-report their pain, resulting in negligence and inadequate pain relief. Pain of these patients is assessed by using the Nociception  Coma Scale (NCS), a specific scale developed for the use with patients with disorders of consciousness. However, this scale has not been tested in Thailand. This prospective, descriptive study aimed to test validity and sensitivity of the NCS among neurological patients with altered level of consciousness. Eighteen neurological patients who had altered levels of consciousness (Glasgow Coma Score: GCS < 12) were recruited in the study. Each participant had his/her pain assessed before and after noxious stimulation (pressure on the nail bed). Pain behaviors of each participant were observed using the NCS and the Behavioral Pain Scale (BPS), a well established behavioral pain scale, for 4-6 times per participant, yielded a total of 83 observations. Demographic data were analyzed using descriptive statistics. Validity was tested by examining the relationship between the NCS scores and the BPS scores using Spearman’s rho correlation. Sensitivity of the NCS was assessed by comparing pre and post noxious stimulation scores using the Wilcoxon signed rank test. The results found that the participants had a median age of 53.50 years (IQR = 22). Most of them were male (n = 14) and Buddhists (n = 15). Nearly half were patients with traumatic brain injury (n = 7). More than two-thirds were unconscious with GCS < 8 (n = 13) and were intubated (n = 16). A median score of hospital length of stay was 9.00 days (IQR = 36). The finding showed a good to excellent convergent validity as evident by a Spearman’s rho coefficient (rs) of 0.453 (p < 0.001). The NCS was also considered sensitive, as indicated by a significant increase of the NCS scores when before and after noxious stimulation was compared (Z = -5.87, p < 0.001).

         Conclusion and Suggestions: The NCS has a good to excellent validity and sensitivity. It can be used to assess pain of neurological patients with altered level of consciousness in the Thai population. 

 Keywords: pain; pain assessment; neurological patients; altered level of consciousness

* Registered nurse, Vachira Phuket Hospital, Phuket, Thailand; e-mail : gitbunyong@hotmail.com

** Assistant Professor, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University

Article Details

How to Cite
1.
บัวทอง ใ, กิจบรรยงเลิศ ส, ศรสวัสดิ์ ส, เพชรพิเชฐเชียร ว. ความตรงและความไวของเครื่องมือ Nociception Coma Scale ในการประเมินความปวดผู้ป่วยระบบประสาทที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลง. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Apr. 25 [cited 2024 Mar. 29];26(1):109-1. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57332
Section
บทความวิจัย