ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียน ตามการรับรู้ของมารดา ในสถานรับเลี้ยงเด็ก จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัชนันท์ ชีวานนท์
มณีรัตน์ ภาคธูป

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียน ได้แก่ ความรักความผูกพันระหว่างมารดาและบุตรวัยก่อนเรียน สภาพอารมณ์ของครูพี่เลี้ยงเด็ก ประสบการณ์การสอนของครูพี่เลี้ยงเด็ก ประเภทครอบครัวของเด็ก และพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย มารดาและบุตรวัยก่อนเรียน อายุ 1-4 ปี และครูพี่เลี้ยงเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวนกลุ่มละ 98 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผูกพันระหว่างมารดาและบุตรวัยก่อนเรียน สภาพอารมณ์ของครูพี่เลี้ยงเด็ก พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียน และแบบบันทึกพฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

      ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยก่อนเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็ก มีคะแนนความวิตกกังวลจากการพรากจากเฉลี่ย เท่ากับ 8.19 (SD = 6.07) โดยเด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมประท้วงมากที่สุด รองลงมาเป็นพฤติกรรมสิ้นหวัง และพฤติกรรมปฏิเสธน้อยที่สุด ส่วนปัจจัยด้านสภาพอารมณ์ของครูพี่เลี้ยงเด็ก ประสบการณ์การสอนของครูพี่เลี้ยงเด็ก ประเภทครอบครัวของเด็ก และพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความผูกพันระหว่างมารดาและบุตรวัยก่อนเรียน มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.25, p<.05) ดังนั้น พยาบาล ผู้บริหารสถานรับเลี้ยงเด็กวัยก่อนเรียนและผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก ควรส่งเสริมความผูกพันระหว่างมารดาและบุตรวัยก่อนเรียน เพื่อเป็นการลดความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียน

คำสำคัญความวิตกกังวลจากการพรากจาก; เด็กวัยก่อนเรียน; สถานรับเลี้ยงเด็ก

* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; อีเมลล์ติดต่อ : natchananc@gmail.com

** คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; อีเมลล์ติดต่อ : maneerat@eau.ac.th

 

Factors Influencing Separation Anxiety of Pre-school Children

as Perceived by Mothers in Child Care Center, Chon Buri P rovince

Natchanan Chivanon*

Maneerat Phaktoop**

Abstract

      The purpose of this descriptive correlational research was to examine factors related to  separation anxiety of pre-school children, including mother-child attachment, caregiver stress, caregiver experience, family type and child temperament. Sample included 98 caregivers, 98 mothers and their preschool  children, child care centers, Muang district, Chon Buri province. Multi-stage random sampling was used to recruit the sample. Research instruments included demographic record form, and questionnaires of mother-child attachment, caregiver stress, child temperament, and separation anxiety. Descriptive statistics and Pearson’s Product Moment Correlation were used to analyze data.

      Results revealed that mean score of separation anxiety of pre-school children was 8.19 (SD = 6.07). Caregiver stress, caregiver experience, family type, and child temperament were not significantly correlated with separation anxiety of pre-school children. Mother-child attachment was negative correlated with separation anxiety of pre-school children (r = -.25, p<.05). Therefore, in order to reduce separation anxiety of preschool children, nurses or child care center administrators or whom involving with taking care of preschool children should promote the mother-child attachment.    

Key words : Separation anxiety; Pre-school children; Child care center

*Faculty of Nursing, Burapha University, Chon Buri Thailand 20131; e-mail : natchananc@gmail.com

** Faculty of Nursing, Eastern Asia university, Pathum Thani Thailand 12110; e-mail :maneerat@eau.ac.th

Article Details

How to Cite
1.
ชีวานนท์ ณ, ภาคธูป ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียน ตามการรับรู้ของมารดา ในสถานรับเลี้ยงเด็ก จังหวัดชลบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Apr. 25 [cited 2024 Apr. 24];26(1):161-75. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57337
Section
บทความวิจัย