ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ผาสุข กัลย์จารึก

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประวัติการฝากครรภ์และการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก ประชากรที่ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน158 คน โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน แบบบันทึกการฝากครรภ์และการคลอด ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแคว์

           ผลการวิจัย พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เป็นร้อยละ 20.3 และ 6.3 ตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ส่วนมากอยู่ในกลุ่มอายุ 20–24 ปี ร้อยละ 59.5 ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ระหว่าง 13–26 สัปดาห์ ร้อยละ 61.4 เข้ารับฟังคำแนะนำคลินิกโรงเรียนพ่อแม่ครบ 2 ครั้ง ร้อยละ 70.3 ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 75.9 อายุครรภ์ที่คลอดมากกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 96.8 คลอดโดยวิธีธรรมชาติร้อยละ 75.3 น้ำหนักแรกเกิดของทารก มากกว่า 3000 กรัมร้อยละ 58.9  ภาวะแทรกซ้อนของมารดาที่พบมากที่สุดคือ ภาวะน้ำคร่ำน้อย ร้อยละ 38.5 ภาวะแทรกซ้อนของทารกที่พบมากที่สุดคือน้ำหนักตัวน้อยแรกเกิดร้อยละ 54.6 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดา ได้แก่ อายุของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์และวิธีคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกได้แก่อายุครรภ์ที่คลอด ผลเลือด DCIP เป็นบวก(เป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย) และน้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

 

Anemia among Pregnant Women at

U-Thong Community Hospital, U-Thong District, Suphanburi Province

                                                            Phasook Kaljarueg*

Abstract

         The main purposes of this descriptive study were to examine an association between demographic characteristics, antenatal care, and the complications among the mothers and babies. The sample consisted of 158 medical records of pregnant women with anemia who gave birth in U-Thong hospital. The data were collected from the ANC registration and the birth registration forms and then analyzed using frequencies, percentages, means, and standard deviation. The relationships among demographic characteristics, antenatal care, and the complications among the mothers and babies were tested by chi-square.

          The findings revealed that pregnant women with first time and second time anemia were 20.3 percent and 6.3 percent, respectively. Pregnant women were mostly in the age group between 20 and 24 years old (59.5%). Of this number, 61.4 percent attended the first antenatal care between 13 and 26 weeks of gestational age; 70.3 percent attended the Parent School for Guidance twice; 75.9 percent met antenatal quality criteria; and 96.8 percent fulfilled gestational age at birth of more than 37 weeks. The mothers who experienced natural delivery comprised 75.3 percent and 58.9 percent of babies born had a birth weight of more than 3000 grams. The most common complications of pregnant women with anemia was oligohydramnios at 38.5%. The main Babies complication was low birth weights (54.6%). Factors significantly associated with complications of the mothers included ages of the pregnant woman,  attendance of antenatal clinic according to quality criteria, and methods of delivery (p<.05). Factors significantly associated with the occurrence of complications of the babies consisted of gestational age at birth, positive maternal blood for DCIP (thalassemia disease or carrier of mothers) and low birth weight of the babies (p <.05).

Article Details

How to Cite
1.
กัลย์จารึก ผ. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Apr. 27 [cited 2024 Apr. 19];27(1):22-33. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/84954
Section
บทความวิจัย