ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในชุมชน

Main Article Content

ขนิษฐา พิศฉลาด
ภาวดี วิมลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) แบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนและหลังการทดลอง (pre test-post test control group design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงระยะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 คน และจับคู่ให้มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน (matched pair) ในปัจจัยด้านเพศ อายุ น้ำหนัก และดัชนีมวลกาย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวาน ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของ ลอริกและฮอลแมน (Lorig & Holman, 2003) และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที ผลการวิจัยภายหลังการทดลอง พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น และดัชนีมวลกายลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง ดัชนีมวลกายลดลง และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ คือ พยาบาลควรส่งเสริมโปรแกรมการจัดการตนเองให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเอง นอกจากนี้สามารถปรับใช้กลุ่มที่เป็นเบาหวานกลุ่มอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกลุ่มนี้

 

Effect of Self-Management Supporting Program on Self-Management Behaviors,  Body Mass Index and Fasting Blood Sugar Among Pre-Diabetes People in Community

 

Khanittha Pitchalard*

Pawadee Wimolphan*

 Abstract

          The purposes of this quasi-experimental research with pretest-posttest control group aimed to study effect of self-management supporting program on self-management behaviors, body mass index (BMI) and Fasting Blood Sugar (FBS) of pre-diabetes people in Chiang Rai province. Fifty-two pre-diabetes people were participated in this study. Twenty-six participants were divided and matched into two groups equally and matched for sex, age, body weight and BMI. The experimental group received the self-management supporting program delineated by Lorig & Holman (2003) and the control group received the standard nursing care. Descriptive statistics and t-test were used in data analysis. At the end of intervention, this study found that 1) the experimental group had significantly increased self-management behavior scores and significantly decreased BMI (p<.05) compared with the control group, and 2) the experimental group had significantly increased self-management behavior scores and significantly decreased BMI and FBS (p<.05) compared to pre-intervention.

          The study findings suggested that nurse professionals should promote the self-management supporting program in pre-diabetic people in order to change their self-manager behaviors. Moreover, this program is applicable to other groups of diabetes people who have similar conditions.

Article Details

How to Cite
1.
พิศฉลาด ข, วิมลพันธุ์ ภ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในชุมชน. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Apr. 27 [cited 2024 Apr. 23];27(1):47-59. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/84959
Section
บทความวิจัย