การพัฒนาแบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

คมวัฒน์ รุ่งเรือง
เชษฐา แก้วพรม
อรัญญา บุญธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของแบบประเมินคุณธรรม จริยธรรมสำหรับบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  การวิจัยประกอบด้วย (1) การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ จากเอกสารวิชาการและงานวิจัยจำนวน 16 เรื่อง (2) การสร้างแบบประเมินและตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและการตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมิน และ (3) การศึกษาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้  กลุ่มตัวอย่าง คือ บัณฑิตพยาบาล ปีการศึกษา 2554 จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตพยาบาลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ

          ผลการวิจัยได้แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรมสำหรับบัณฑิตพยาบาลมีข้อคำถามจำนวน 21 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ผลการวิเคราะห์อำนาจจำแนกของแบบประเมินอยู่ระหว่าง 2.91-11.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 จากนั้นทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบแบบประเมินมีองค์ประกอบย่อย 2 ด้านคือ คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต (9 ข้อ) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .33-.79 และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (12 ข้อ) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .34-.73

 

Development of the Nursing Graduates Ethics Assessment
for Nursing Colleges under the Ministry of Public Health

Komwat Rungruang*

Chettha Kaewprom**

Aranya Boontum***

Abstract

      The purposes of this research were to develop and validate the assessment tool for ethics and morality of nurses graduating from the nursing colleges under the Ministry of Public Health. This research was conducted as follows; 1) synthesizing factors and indicators of ethics and morality where identifies thorough 16 relevant studies; 2) developing and validating a questionnaire regarding its content and reliability; and 3) determining the validity of its structure and components by factor analysis. The sample consisted of 438 nurses who graduated in the academic year of 2011. The ethics and morality questionnaire developed by the research team was used to collect data. The data were analyzed using exploratory factor analysis.

          The study yielded a questionnaire consisting of 21 items. Its content was validated by 9 experts with discrimination index from 2.91 to 11.00. An internal reliability was .91.  According to the exploratory factor analysis, two sub-domains were found, including ethics and morality in daily life (9 items) and practices under the professional code of conduct (12 items) with factor loadings of .33-.79 and .34-.73 respectively.

Article Details

How to Cite
1.
รุ่งเรือง ค, แก้วพรม เ, บุญธรรม อ. การพัฒนาแบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Apr. 27 [cited 2024 Mar. 29];27(1):99-112. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/84971
Section
บทความวิจัย