ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

Main Article Content

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล
เปรมฤดี บริบาล

Abstract

บทคัดย่อ

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลและยังมีส่วนต่อการผลักดันให้เกิดความมุ่งมั่นพัฒนาการเป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อการเรียน และทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับผู้ปกครอง และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อตัวนักศึกษา และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัย ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ และบรรยากาศในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2553 จำนวน 225 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อการเรียน ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับผู้ปกครอง ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อนักศึกษา สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับครู บรรยากาศในการเรียนรู้ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (αcoefficient) ของแบบสอบทั้ง 9 ด้านอยู่ระหว่าง .778 - .914 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยวิธีเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน (XH) เป็นตัวแปรที่พยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาลในระดับสูงสุด (x̄=4.07 ,s= .48) รองลงมาเป็นการรับรู้คุณค่าในตนเอง (XB) บรรยากาศในการเรียนรู้ (XJ) ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อตัวนักศึกษา (XG) ทัศนคติต่อการเรียน (XC) และสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ (XI) ตามลำดับ ตัวแปรทั้ง 6 ด้านสามารถทำนายแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 45.8

2. ผลการสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ในรูปคะแนนดิบ (Y) และรูปคะแนนมาตรฐาน (Z)  ได้ดังนี้

Y = -0.009+0.286(XH)+0.205(XB)+0.115(XJ)+0.132(XG)+0.114(XC)+0.095(XI)

Z = 0.238(XH)+0.223(XB)+0.171(XJ)+0.150(XG)+0.117(XC)+0.118(XI)

คำสำคัญ: แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

The purposes of this study were to examine the factors affecting achievement motivation and formulate predictive equations of achievement motivation in nursing students at the Boromarajonani College of Nursing, Udonthani. The factors included eight variables which were divided into three dimensions. The first were personal factors comprising perception of self esteem, attitudes towards learning and attitudes towards the nursing profession. The second dimension were family factors comprising parent-student relationships and expectation of parents toward students. The final dimension was the college environment factors comprising student-friend relationships, student-instructor relationships and the learning atmosphere. The sample was 225 first to fourth year nursing students at the Boromarajonani College of Nursing, Udonthani during the academic year 2010. The research tool was a questionnaire of factors affecting achievement motivation of the nursing students. Items consisted of nine parts: 1) perception of self esteem, 2) attitude toward learning 3) attitude toward the nursing profession 4) parents-students relationship 5) expectation of parents toward students 6) students-friends relationship 7) student-instructor relationship 8) learning atmosphere, and 9) achievement motivation. The reliability of each part was computed using αcoefficient were 0.77 to 0.914. The data were analyzed by using descriptive statistics such as means, standard deviations and a Pearson Product Moment Correlation Coefficient and a Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results were as follows:

1. There were six factors that could significantly predict achievement motivation of nursing students by ranking them from the most to the least  predictive coefficients, These factors included student-friend relationships (XH), perception of self esteem (XB), learning atmosphere (XJ), expectations of parents toward the student (XG), attitudes toward learning (XC), and  student-instructor relationships (XI). All of them could predict achievement motivation at approximately 45.8 %.

2. The results of formulating prediction equations of achievement motivation in the forms of raw scores (Y) and standard scores (Z) were as follows:

Y = -0.009+0.286(XH) +0.205(XB) +0.115(XJ) +0.132(XG) +0.114(XC) +0.095(XI)

Z = 0.238(XH) +0.223(XB) +0.171(XJ) +0.150(XG) +0.117(XC) +0.118(XI)

Key words: Achievement Motivation, Nursing Students

 

Article Details

How to Cite
1.
ชิดมงคล ฤ, บริบาล เ. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Mar. 29];22(1):98-108. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4843
Section
บทความวิจัย