ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการเตรียมผู้ป่วยส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะต่อระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยห้องผ่าตัดโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Main Article Content

ถนอมนวล ต๊ะอินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการเตรียมผู้ป่วยส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะต่อระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะที่แผนกห้องผ่าตัดโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 60 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย เริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รวมเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยใช้แนวทางปฏิบัติใหม่ด้วยวิธีการใส่ยาชาผ่านกรวยพลาสติกที่ได้นำมาประยุกต์เข้ากับ Syringe โดยตรงทำให้ผู้ป่วยได้รับยาชาครบถ้วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและแบบประเมินความปวดโดยใช้ Numeric rating scales วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดด้วยสถิติค่าที (t – test)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศชายทั้งหมด อายุเฉลี่ย 64 ปีและ 68 ปี ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มอาการ Hematuria ระยะเวลาที่ใช้ในการส่องกล้อง ตรวจกระเพาะปัสสาวะ 4.6 นาที ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตและชีพจรทั้งก่อนและหลังการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ^{}x- = 6.7,SD =2.6 และ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดเท่ากับ = 2.8, SD=1.4 (p<0.01) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ป่วยที่ต้องรับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะมารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรใช้แนวทางปฏิบัติการเตรียมผู้ป่วยส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะที่ได้พัฒนาขึ้นและควรมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วย

คำสำคัญ : การส่องกล้องตรวจกระเพาปัสสาวะ, แนวปฏิบัติ
* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Effect of Utilizing the Clinical Nursing Practice Guideline for Cystoscope Preparation on Patients' Pain Reduction at Operation Room, Chaopraya Yommaraj Hospital

Abstract
This quasi-experimental study aimed to examine the effect of utilizing the clinical nursing practice guideline (CNPG) on pain reduction among patients receiving a cystos copy at the operation room at Chaoprayayommaraj Hospital, Supanburi Province. Sixty subjects were recruited through purposive sampling. The subjects were assigned into 2 equal sized groups. Both experimental and control groups contained 30 subjects. Data were collected over 6 months from January, 1st , 2553 to June, 30th,2553. Using the new guideline with apply cone add syring for patient recive Lidocaine fully Instruments included
a demographic questionnaire and a self-administered pain scale. Descriptive data analyses included percentages, means, standard deviations and a t-test. The finding showed that all the subjects were male. The average of age of subjects in experimental and control group was 64 and 68 years old, respectively. Most of subjects in both groups were diagnosed with hematuria syndromes. The average time for cystos copy last was
4.4 and 4.6 minutes. The average of pain scores among experimental and control group were 2.8 and 6.7, respectively. There was a statistically significant difference on pain levels between experimental and control groups with p - value less than 0.01 This study suggests that nurses should utilizing CNPG while providing care during cystos copy in order to reduce the patients’ pain. The CNPG for pain reduction among patients who
have to receive cystoscopy should be further developed.

Keywords : Cystoscopy, CNPG, Pain.

* Head of operating room Chaopraya Yommaraj Hospital.

Article Details

How to Cite
1.
ต๊ะอินทร์ ถ. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการเตรียมผู้ป่วยส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะต่อระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยห้องผ่าตัดโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 16 [cited 2024 Mar. 29];21(1):49-57. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/5005
Section
บทความวิจัย
Author Biography

ถนอมนวล ต๊ะอินทร์

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี