การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ธนภัทร มีนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทรา โตบัว
รองศาสตราจารย์ ดร.วรัทยา ธรรมกิตติภพ

Abstract

บทคัดย่อ


             การประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามรูปแบบการประเมินของแฮมมอนด์ ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้  มิติการบริหารจัดการหลักสูตร และมิติคุณภาพของบัณฑิต ประชากรเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร 14 คน บัณฑิต 20 คน นักศึกษา 212 คน และผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของบัณฑิต 6 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการประเมินการดำเนินงานของหลักสูตร พบว่า มิติสิ่งสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการประเมินในตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมในชั้นเรียน แต่ไม่ผ่านการประเมินตัวบ่งชี้ความเหมาะสมของโครงสร้างและหน่วยกิตของหลักสูตร ด้านการจัดชั้นเรียนและตารางสอน ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการงบประมาณ มิติการบริหารจัดการหลักสูตรผ่านการประเมินเกือบทุกรายการยกเว้น ด้านบทบาทของครอบครัวและการทำโครงการเพื่อการบริการชุมชนไม่ผ่านการประเมิน  มิติคุณภาพของบัณฑิตผ่านการประเมินในด้านความรู้ในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงาน ความสามารถด้านเทคโนโลยี ส่วนด้านทักษะตัวเลข การใช้ภาษาอังกฤษไม่ผ่านการประเมิน  ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร คือ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรปรับปรุงเรื่องการเปิดรายวิชาไม่ให้ซ้ำซ้อน บริหารการจัดตารางเรียนให้เหมาะสม ร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนทั้งในและนอกชั้นเรียน ให้หน่วยงานภายนอกสถานประกอบการหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


 คําสําคัญ: การประเมินผลหลักสูตระดับอุดมศึกษา, รูปแบบการประเมินของแฮมมอนด์


 Abstract


 Evaluation of curriculum performance is a process that occurs after the curriculum  applied. It’s important and necessary to improve the quality of the curriculum. The purpose of this research was to evaluate of the Bachelor of Education Program in Educational Technology and Communications Curriculum (Revised 2012), Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The Robert L. Hammond’s  evaluation model was determine the appropriateness divided into three dimensions; learning process  dimension, curriculum management dimension and quality graduates dimension The target population were 14 responsible curriculum’s teachers/ curriculum’s teachers/ instructors, 20 alumni, 212 students and 6 alumni’s supervisor. The data were collected by questionnaire, interview form and recording form. The data analyzed by frequency, percentage and content analysis.


The results of the curriculum evaluation showed that learning process support dimension pass evaluation criteria in learning activity in classroom but course structure, class schedule, learning and teaching method, learning resource and budget did not pass evaluation. The curriculum management dimension almost pass evaluation criteria except family and community role and  quality of graduates dimension  pass evaluation criteria  in knowledge, interpersonal relationships and  responsibilities, technology capability but numeric skill and English skill did not pass evaluation criteria. Suggestions for curriculum improvement, staffs should improve the course not to duplicate, organize appropriate classroom scheduling, together create rules of learning both inside and outside the classroom, provide outside agencies or communities with participation in educational programs.


 Keyword: Curriculum of Higher Education Evaluation, Hammond’s Evaluation Model

Article Details

How to Cite
มีนา ธ., โตบัว ผ. ด., & ธรรมกิตติภพ ร. ด. (2018). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(27), 24–36. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/110407
Section
บทความวิจัย