Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.

รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อส่งตีพิมพ์   

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ ได้ที่ JSH.TRU

ข้อกําหนดในการเตรียมต้นฉบับบทความ

\inline \triangleright  ขนาดกระดาษ A 4

\inline \triangleright  กรอบของข้อความ ในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้ จากขอบบนของกระดาษ 3.0 ซม. ขอบล่าง 2.5 ซม. ขอบซ้าย 3.0 ซม.ขอบขวา 2.5 ซม.

\inline \triangleright  ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์

\inline \triangleright  ตัวอักษร ใช้สารบัญ นิว (TH Sarabun New) และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้

      ชื่อเรื่อง (Title)

     - ภาษาไทย ขนาด 18 point, กำหนดตรงกลาง, ตัวหนา

     - ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา

      ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)

     - ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย ขนาด 14 point, กำหนดชิดขวา

     - ชื่อผู้เขียน ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดขวา

     - ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน ภาษาไทย ขนาด 14 point, กำหนดชิดขวา

     - ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดขวา

      - ชื่อที่อยู่อีเมล์  ขนาด 14 point, กำหนดชิดขวา

      บทคัดย่อ

     - ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา

     - ข้อความบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา

     - ข้อความบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา

     - ย่อหน้า 1.25 ซม.

       คําสําคัญ (Keyword) ให้พิมพ์ต่อจากส่วนของบทคัดย่อ (Abstract) ควรเลือกคําสําคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 4-5 คํา ใช้ตัวอักษรภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point

       รายละเอียดบทความ

      - หัวข้อใหญ่ขนาด 16 point, กําหนดชิดซ้าย, ตัวหนา

      - หัวข้อรอง ขนาด 14 point , กําหนดชิดซ้าย, ตัวหนา

      - ตัวอักษร ขนาด 14 point, กําหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา

      - ย่อหน้า 0.5 นิ้ว

       คําศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน

       ภาพและตาราง กรณีมีภาพและตารางประกอบ ชื่อภาพให้ระบุคำว่า ภาพที่ ไว้ใต้ภาพประกอบ และจัดข้อความบรรยายภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ชื่อตารางให้ระบุคำว่า ตารางที่ พร้อมทั้งข้อความบรรยายตาราง หัวตารางให้จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ และใต้ภาพประกอบหรือตารางให้บอกแหล่งที่มา โดยพิมพ์ห่างจากชื่อภาพประกอบหรือเส้นคั่นใต้ตาราง 1 บรรทัด (ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point, ตัวธรรมดา)

       กิตติกรรมประกาศ ให้ประกาศเฉพาะการได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย

        รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร

- กองบรรณาธิการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี ขอกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงเอกสารเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสารในฐานข้อมูล ACI  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน  โดยจะกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรายการอ้างอิงที่เป็นของคนไทย ดังนี้

- การเขียนรายการอ้างอิงที่เป็นของคนไทยท้ายบทความ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่กัน คือ เรียงรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและเติมคำว่า (in Thai) ต่อท้าย หลังจากนั้นให้ตามด้วยรายการอ้างอิงภาษาไทยต้นฉบับที่แปลมา

* ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะปรับย้ายรายการอ้างอิงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษไปอยู่ภายใต้หัวข้อ “Translated Thai References” เอง เพื่อความถูกต้องในการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด

รูปแบบการเขียนอ้างอิง   การอ้างอิงเอกสารให้เขียนบรรณานุกรมรูปแบบ APA (American Psychological Association) 6th edition

1.  การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความ  กรณีที่มีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาของบทความ ให้ใช้การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบระบบชื่อ-ปี (name-year system) โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น โดยให้อ้างชื่อผู้แต่ง หรือ ชื่อเรื่อง (ในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง) และปีที่พิมพ์  เป็นภาษาไทยเหมือนเดิม

       ตัวอย่างที่ 1   

       การเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

       วาริท เจาะจิตต์ (2556) กล่าวว่า ฟุตพริ้นท์ เป็นคำที่แสดงการเปรียบเทียบกับทุกก้าวเดินในการทำกิจกรรมของมนุษย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มมีการนำหลักการของฟุตพริ้นท์มาใช้เมื่อประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์แบ่งเป็น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และขององค์กร ในบทความนี้ นำเสนอเฉพาะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเท่านั้น            

       การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ

       - การเขียนรายการอ้างอิงที่เป็นของคนไทยท้ายบทความ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่กัน คือ เรียงรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้าย หลังจากนั้นให้ตามด้วยรายการอ้างอิงภาษาไทยต้นฉบับที่แปลมา  ดังตัวอย่างนี้

           ตัวอย่างที่ 2

           การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 (2542) ได้ให้ความหมายของคำว่า “สถานศึกษา” ว่า หมายถึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัยสถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

           การเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

2.  การอ้างอิงท้ายบทความ

- เอกสารอ้างอิงทุกลำดับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความให้ครบถ้วนและตรงกัน  ถ้ารายละเอียดของเอกสารอ้างอิงมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดถัดไปโดยย่อหน้า (โดยเว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษรหรือเริ่มพิมพ์ช่วงตัวอักษรที่ 8

- หากเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นของคนไทย  การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่กัน คือ เรียงรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและเติมคำว่า (in Thai) ต่อท้าย หลังจากนั้นให้ตามด้วยรายการอ้างอิงภาษาไทยต้นฉบับที่แปลมา  ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ดังนี้

           * ในส่วนของรายการอ้างอิงที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษอื่นๆ หากมียังคงให้เขียนอ้างอิงเช่นเดิม

2.1  อ้างอิงจากหนังสือ

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

2.2  อ้างอิงจากบทความวารสาร

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎบทความในวารสาร.

2.3  อ้างอิงจากปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ชื่อปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา).

2.4  อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีที่พิมพ์หรือปีที่สืบค้น). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี), จาก(from) ชื่อเว็บไซต์.

 

 การเรียงรายการอ้างอิงท้ายบทความ

 การเรียงรายการอ้างอิงท้ายบทความ  เพื่อส่งมายังกองบรรณาธิการ  ให้ผู้เขียนเรียงลำดับโดยยึดอักษรภาษาอังกฤษเป็นหลักเรียงลำดับจาก A ไป Z และนำรายการที่แปลเป็นภาษาไทยมาไว้คู่กัน หลังจากนั้นจึงตามด้วยรายการอ้างอิงที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษอื่นๆ (หากมีเพิ่มเติม) โดยเรียงลำดับจาก A ไป Z เช่นกัน